มูลค่าการโฆษณาและสัดส่วนผู้ชมโทรทัศน์ ปี 2563

 

ปี 2563 เป็นปีที่มีสถานการณ์พิเศษเกิดขึ้นมากมาย ทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ตลอดจนผลต่อเนื่องจากการขอคืนใบอนุญาตประกอบกิจการของทั้ง 7 ช่องรายการ1 ส่งผลให้ สภาพตลาดกิจการโทรทัศน์มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านสัดส่วนผู้ชม และมูลค่าการโฆษณา โดยมี รายละเอียดดังต่อไปนี้ 

สัดส่วนผู้ชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ปี 2563 

เมื่อพิจารณาสัดส่วนผู้ชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล (แบ่งตามหมวดหมู่ช่อง) ในปี 25632 พบว่า ช่องที่มีสัดส่วนผู้ชมมากที่สุดคือ ช่องในหมวดหมู่ความคมชัดสูง (ร้อยละ 66.89) ตามมาด้วย ช่องในหมวดหมู่ความคมชัดปกติ (ร้อยละ 27.88) ช่องในหมวดหมูข่าวสารและสาระ (ร้อยละ 3.71) และ ช่องในหมวดหมู่สาธารณะ (ร้อยละ 1.72) นอกจากนี้ ยังพบว่า หมวดหมู่ช่องที่มีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วน ผู้ชมอย่างมีนัยสำ˝ˇคัญเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า ได้แก่ หมวดหมู่ช่องความคมชัดสูง ซึ่งมีสัดส่วน ผู้ชมเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5.06 ในขณะที่ช่องในหมวดหมู่ความคมชัดปกติมีสัดส่วนผู้ชมลดลงถึงร้อยละ 3.63

อย่างไรก็ดี สำหรับช่องในหมวดหมู่สาธารณะและหมวดหมู่ข่าวสารและสาระ พบว่า มีการเปลี่ยนแปลง เล็กน้อย โดยสัดส่วนผู้ชมในหมวดหมู่ช่องสาธารณะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.04 และสัดส่วนผู้ชมในหมวดหมู่ช่อง ข่าวสารและสาระลดลงร้อยละ 0.54 


 1 7 ช่องรายการที่ขอยุติการออกอากาศ เรียงตามวันที่ยุติการออกอากาศ ได้แก่ 
1. ช่องสปริงนิวส์, Bright TV และ SPRING26 ยุติการออกอากาศในวันที่ 16 สิงหาคม 2562 
2. ช่อง Voice TV ยุติการออกอากาศในวันที่ 1 กันยายน 2562 
3. ช่อง MCOT Family ยุติการออกอากาศในวันที่ 16 กันยายน 2562 
4. ช่อง 3 Family และช่อง SD ยุติการออกอากาศในวันที่ 1 ตุลาคม 2562 
2 ไม่นับรวมช่องในหมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่ยุติการออกอากาศทั้งหมด 

ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า สัดส่วนผู้ชมของหมวดหมู่ช่องรายการที่มีการยุติการออกอากาศในปี 2562 ซึ่งได้แก่ หมวดหมู่ความคมชัดปกติ และหมวดหมู่ข่าวสารและสาระ มีแนวโน้มสัดส่วนผู้ชมลดลงในปี 2563 ในขณะที่สัดส่วนผู้ชมของช่องในหมวดหมู่ความคมชัดสูงและหมวดหมู่ช่องสาธารณะ ซึ่งเป็นหมวดหมู่ช่อง ที่ไม่ได้มีการขอคืนใบอนุญาตในปี 2562 กลับมีสัดส่วนผู้ชมในภาพรวมเพิ่มขึ้นในปี 2563 

เมื่อพิจารณาสัดส่วนผู้ชมของแต่ละช่องรายการในปี 2562-2563 พบว่า ช่องส่วนใหญ่ในหมวดหมู่ ความคมชัดปกติ มีสัดส่วนผู้ชมลดลง ยกเว้นช่อง MONO29 ช่อง 8 และช่อง GMM25 ที่มีสัดส่วนผู้ชม เพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยมีสัดส่วนผู้ชมที่เพิ่มขึ้นรวมกันเป็นร้อยละ 1.24 ซึ่งน้อยกว่าสัดส่วนผู้ชมที่ลดลงถึง ร้อยละ 4.87

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาช่องรายการที่ยังประกอบกิจการในหมวดหมู่ข่าวสารและสาระ ในปี 2563 พบว่า ทุกช่องมีสัดส่วนผู้ชมลดลง ยกเว้นช่อง Nation TV และช่อง TNN ที่มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.38 และ ร้อยละ 0.01 ตามลำ˝ดับ 

ในขณะที่ช่องในหมวดหมู่ความคมชัดปกติและหมวดหมู่ข่าวสารและสาระมีสัดส่วนผู้ชมลดลง หมวดหมู่ช่องที่มีสัดส่วนผู้ชมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำ˝ˇคัญกลับเป็นช่องในหมวดหมู่ความคมชัดสูง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งช่อง AMARIN TV HD และช่องไทยรัฐทีวี โดยทั้งสองช่องมีการวางกลยุทธ์เน้นรายการข่าวมาอย่าง ต่อเนื่อง ส่งผลให้ในปี 2563 มีสัดส่วนผู้ชมเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.04 และร้อยละ 1.87 ตามลำ˝ˇดับ นอกจากนี้ ช่องไทยพีบีเอส ซึ่งเป็นช่องในหมวดหมู่สาธารณะและเน้นนำ˝ˇเสนอรายการข่าวสารและสาระ ก็มีสัดส่วน ผู้ชมเพิ่มสูงขึ้นในปี 2563 เช่นกัน 

จากข้อมูลข้างต้นจึงสรุปได้ว่า สัดส่วนผู้ชมของช่องรายการที่มีการยุติการออกอากาศในปี 2562 ไม่ได้มีแนวโน้มกระจายตัวไปยังช่องอื่นๆ ในหมวดหมู่เดิม โดยพบว่า ผู้ชมมีแนวโน้มเปลี่ยนไปรับชมช่อง รายการในหมวดหมู่อื่นแทน เช่น หมวดหมู่ความคมชัดสูง และหมวดหมู่ช่องสาธารณะ ซึ่งมีเนื้อหารายการ ที่ใกล้เคียงกับช่องรายการที่มีการยุติการออกอากาศ 

มูลค่าการโฆษณาโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ปี 2563 

มูลค่าการโฆษณาในกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ปี 2563 มียอดรวมประมาณ 61,662.46 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการโฆษณาของช่องสาธารณะ 1,306.15 ล้านบาท ช่องข่าวสารและสาระ 1,585.76 ล้านบาท ช่องความคมชัดปกติ (SD) 18,283.31 ล้านบาท และช่องความคมชัดสูง (HD) 40,487.24 ล้านบาท 

3 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 เป็นต้นไป ฐานข้อมูลมูลค่าการโฆษณาโทรทัศน์ภาคพื้นดิน เป็นการรวบรวมข้อมูลจาก 18 ช่อง รายการที่ยังคงประกอบกิจการ โดยไม่มีการเก็บข้อมูลจากช่องที่ได้คืนใบอนุญาตและยุติการออกอากาศ 

4 ในปี 2563 ไม่มีข้อมูลมูลค่าการโฆษณาโทรทัศน์ภาคพื้นดินของช่องเด็ก เยาวชน และครอบครัว เนื่องจากช่อง 3 Family และช่อง MCOT Family ได้คืนใบอนุญาตและยุติการออกอากาศในปี 2562 

หากเปรียบเทียบมูลค่าการโฆษณาในกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ปี 2563 กับปี 2562 พบว่า มูลค่าการโฆษณาในภาพรวมลดลงถึง 6,382.78 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 9.38 โดยหมวดหมู่ช่อง รายการที่มีสัดส่วนรายได้จากการโฆษณาลดลงมากที่สุด5 คือ หมวดหมู่ช่องสาธารณะที่มีรายได้ลด ลงถึง 2,919.67 ล้านบาท หรือลดลงประมาณร้อยละ 69.09 ตามมาด้วยหมวดหมู่ช่องข่าวสารและ สาระที่มีรายได้ลดลง 317.33 ล้านบาท หรือลดลงประมาณร้อยละ 16.67 และหมวดหมู่ช่องความ คมชัดสูงที่มีรายได้ลดลง 3,106.06 ล้านบาท หรือลดลงประมาณร้อยละ 7.13 ส่วนหมวดหมู่ช่อง ที่มีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นมีเพียงหมวดหมู่เดียวคือ หมวดหมู่ช่องความคมชัดปกติ โดยมีรายได้จากการ โฆษณาเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ 345.62 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1.93 

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาสัดส่วนมูลค่าการโฆษณาของแต่ละหมวดหมู่ของปี 2563 เปรียบเทียบกับ 2562 พบว่า ช่องความคมชัดปกติและช่องความคมชัดสูงมีสัดส่วนมูลค่าการโฆษณาเพิ่มขึ้นประมาณ ร้อยละ 3.29 และร้อยละ 1.59 ตามลำ˝ˇดับ ในขณะที่ช่องในหมวดหมู่ข่าวสารและสาระและหมวดหมู่ ช่องสาธารณะมีสัดส่วนมูลค่าการโฆษณาลดลงประมาณร้อยละ 0.22 และ 4.09 ตามลำ˝ˇดับ 

การเปลี่ยนแปลงมูลค่าโฆษณาและสัดส่วนมูลค่าโฆษณา 

หากพิจารณาลงลึกเป็นรายไตรมาสของปี 2563 เปรียบเทียบกับปี 2562 พบว่า รายได้จาก การโฆษณาในปี 2563 ลดลงในทุกไตรมาสยกเว้นในไตรมาสแรก โดยไตรมาสที่ 1 ของปี 2563 มีมูลค่าการโฆษณาเพิ่มขึ้นประมาณ 391.78 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.49 อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 ถึงไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 มูลค่าการโฆษณามีแนวโน้มลดลงในทุกไตรมาส โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 2 ที่มูลค่าการโฆณาลดลงมากถึง 5,059.73 ล้านบาท หรือลดลงคิดเป็น ร้อยละ 29.10 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 นี้ เป็นช่วงเวลา ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และรัฐบาลมีนโยบายล็อกดาวน์ประเทศเพื่อป้องกัน และสกัดกั้นการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ทั้งนี้ มูลค่าการโฆษณาเริ่มปรับตัวสูงขึ้นในไตรมาสที่ 3 เมื่อรัฐบาลเริ่มมีมาตรการผ่อนปรนและประกาศคลายล็อกดาวน์ 

จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า ปี 2563 เป็นช่วงเวลาที่มูลค่าการโฆษณามีแนวโน้ม ลดลงอย่างมีนัยสำ˝ˇคัญเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำ˝ˇให้บริษัทและเอเจนซี่โฆษณาต่างๆ มีการใช้งบโฆษณาลดลง โดยเฉพาะในช่วงที่รัฐบาลมีการ ประกาศล็อกดาวน์ประเทศในช่วงไตรมาสที่ 2 อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาสัดส่วนมูลค่าการโฆษณาของ แต่ละหมวดหมู่ของปี 2563 เปรียบเทียบกับ 2562 จะเห็นได้ว่า ช่องความคมชัดปกติและช่องความ คมชัดสูงมีสัดส่วนมูลค่าโฆษณาเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.29 และร้อยละ 1.59 ตามลำ˝ˇดับ ซึ่งสาเหตุ ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการยุติการออกอากาศของช่องรายการโทรทัศน์ทั้ง 7 ช่องในปี 2562 ที่ทำ˝ˇให้สัดส่วนมูลค่าการโฆษณาถูกกระจายออกไปยังช่องในหมวดหมู่เหล่านี้มากขึ้น

บทสรุป 

เมื่อพิจารณาแนวโน้มจากทั้งมูลค่าการโฆษณาและสัดส่วนผู้ชมในกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ในระบบดิจิตอล ปี 2563 เปรียบเทียบกับปี 2562 อาจสรุปได้ว่า การยุติการออกอากาศของทั้ง 7 ช่องรายการ ไม่ได้ส่งผลให้มูลค่าโฆษณาในกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลในหมวดหมู่ เดียวกันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำ˝ˇคัญ ยกเว้นหมวดหมู่ช่องความคมชัดปกติที่มีมูลค่าการโฆษณาเพิ่มขึ้น เล็กน้อย ซึ่งภาพรวมสอดคล้องกันกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ชมที่การยุติการออกอากาศ ไม่ได้ทำ˝ˇให้สัดส่วนผู้ชมของช่องอื่นๆ ในหมวดหมู่เดิมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำ˝ˇคัญ นอกจากนี้ เนื่องจาก ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ยังส่งผลให้มูลค่าโฆษณาในกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบ ดิจิตอลในภาพรวมของปี 2563 ลดลงถึงร้อยละ 9.38 เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าการโฆษณาในปี 2562 

ถึงแม้ว่ามูลค่าการโฆษณาในภาพรวมของปี 2563 มีแนวโน้มลดลง แต่หากเมื่อพิจารณาจาก สัดส่วนของมูลค่าโฆษณาพบว่า หมวดหมู่ช่องความคมชัดปกติและหมวดหมู่ความคมชัดสูงมีสัดส่วน มูลค่าโฆษณาเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 3.29 และร้อยละ 1.59 ตามลำ ˝ˇดับ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าอาจเกิดจาก การกระจายเม็ดเงินโฆษณาจากช่องเดิมที่ยุติการออกอากาศไปยังช่องในสองหมวดหมู่นี้ ซึ่งแตกต่าง จากการกระจายตัวของสัดส่วนผู้ชมที่ไม่มีการเพิ่มขึ้นในหมวดหมู่ช่องความคมชัดปกติ แต่ไปเพิ่มขึ้น ที่หมวดหมู่ช่องสาธารณะและหมวดหมู่ช่องความคมชัดสูงแทน