วิกฤติโควิด-19 ทำเอาสุขภาพกระเป๋าของผู้บริโภคป่วยไปด้วย คนไทยยุค New Normal ต้องผจญโรค ผจญปัญหาเศรษฐกิจ จนต้องรัดเข็มขัดแน่นๆ มากน้อยแค่ไหน  สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ร่วมกับ บริษัท ฮาคูโฮโด แบงคอก ออกมาช่วยยืนยัน ด้วยผลสำรวจถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในไทยประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564 พบเทรนด์ผู้บริโภคไทยยังคงรัดเข็มขัดแน่น ใช้จ่ายแต่สิ่งที่จำเป็น มองหาสินค้าอเนกประสงค์ไว้ก่อน แล้วเทรนด์ใช้จ่ายแบบนี้ลดลงเกือบทุกที่ – ทุกกลุ่มในสังคมไทย!!

ผลการสำรวจสดๆ ร้อนๆ ออนไลน์ (8-15 ม.ค.64) นับแต่โควิด-19 ระลอกใหม่มาเซย์ฮัลโหล จากผู้ตอบแบบสอบถามเพศชาย – หญิงจากทั่วประเทศ 1,200 คน วัย 20-59 ปี เปรียบเทียบก.พ. 64 กับ ธ.ค. 63 พบ 2 เทรนด์สำคัญ คือ

รัดเข็มขัด จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น         

  • แนวโน้มความต้องการใช้จ่าย
  • ภาพรวม 54 คะแนน (-3)
  • ชาย 54 คะแนน (-3)
  • หญิง 55 คะแนน (-3)

หมายเหตุ : 1) คะแนนเต็ม 100 คะแนน 2)เปรียบระหว่างกุมภาพันธ์ 64 กับ ธันวาคม 63

เหตุผลความต้องการใช้จ่ายสูงกว่าค่าเฉลี่ย

  • อยากตุนสินค้าเพื่อเลี่ยงการออกไปข้างนอก
  • ใช้บริการส่งอาหารมากขึ้น
  • ซื้อของให้รางวัลตัวเอง/ให้เป็นของขวัญแก่คนรัก

เหตุผลความต้องการใช้จ่ายต่ำกว่าค่าเฉลี่ย

  • รายได้ลดลงจากผลกระทบของสถานการณ์วิกฤติโควิด
  • ซื้อเพื่อทดแทนของเก่า
  • กังวลเรื่องการเงินของครอบครัว/ว่างงาน

 2. สินค้าอเนกประสงค์เป็นที่ต้องการมากกว่า

สินค้าและบริการที่ไม่ใช่แค่อำนวยความสะดวก แต่ยังช่วยตอบสนองความต้องการอื่นๆ ในชีวิตยังเป็นที่ต้องการ เช่น

  • สมาร์ทโฟน (ใช้ทำงาน/ให้ลูกใช้เรียนออนไลน์)
  • รถยนต์ (สำหรับ/พักผ่อน/ทำงาน)
  • ของตกแต่งบ้าน (เพื่อความสวยงาม/ความสะดวกสบาย)

แนวโน้มความต้องการในการใช้จ่าย

  •  ภูมิภาค  : แนวโน้มลดลงเกือบทุกภูมิภาคโดยเฉพาะในกรุงเทพฯและปริมณฑล และภาคตะวันออก มีเพียงภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีแนวโน้มความต้องการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการย้ายถิ่นฐานจากกรุงเทพฯ กลับภูมิลำเนาเนื่องจากโควิด    
  • ช่วงอายุ : มีเพียงวัย 20-29 ปีที่ความต้องการใช้จ่ายคงที่ เนื่องจากเบื่อจากการอยู่บ้านเป็นเวลานาน โดยอยากซื้อผลิตภัณฑ์เสริมความงาม หรือโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ ส่วนช่วงอายุอื่นๆ มีแนวโน้มใช้จ่ายลดลง

Top 10  สินค้าที่อยากซื้อ

1 ของใช้จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวัน 56% (+8%)        

2 อาหาร  54% (+8%)

3 เสื้อผ้า  41% (+3%)                                           

4 เครื่องดื่ม 39% (+6%)

5 ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม 33% (+3%)                     

6 รองเท้า กระเป๋า 26% (-4%)

7 โทรศัพท์มือถือ 24% (-1%)                                   

8 ทานอาหารนอกบ้าน 24% (-8%)

9 น้ำมันเชื้อเพลิง 23% (+5%)                                  

10 เครื่องประดับ 19% (-3%)

ดัชนีความสุข

ข่าวการติดเชื้อโควิดระลอกสองในช่วงก่อนวันหยุดปีใหม่ส่งผลให้มีการกล่าวถึงข่าวโควิดเพิ่มสูงขึ้นจาก 4% ในการสำรวจเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 เป็น 81% และส่งผลให้อารมณ์รื่นเริงของคนไทยกลายเป็นความเงียบเหงาในช่วงส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่จากการห้ามการเฉลิมฉลองในที่สาธารณะ และคนไทยส่วนใหญ่ยกเลิกการเดินทางในประเทศ นอกจากนี้ ผลกระทบจากกระแสโควิดทำให้ความร้อนแรงทางการเมือง ซึ่งมีการกล่าวถึงสูงสุดในการสำรวจครั้งก่อน 57% เหลือเพียง 3% เท่านั้น

คะแนนความสุขในปัจจุบัน

ภาพรวมชายหญิง
64 คะแนน (-2)63 คะแนน (-2)65 คะแนน (-1)

            คะแนนความสุขในอีก 3 เดือนข้างหน้า

  • มีความสุขมากขึ้น              41 คะแนน (-5)
  • มีความสุขเท่าตอนนี้          49 คะแนน (+1)
  • มีความสุขน้อยลง              10 คะแนน (-3)