ผลการศึกษาจาก Qualtrics รายงานว่าพนักงานเกือบ 3 ใน 4 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (74%) ต่างคาดหวังว่าในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ตนทำงาน จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหลัง สถานการณ์โควิด-19 เนื่องจากมีการ ปรับตัว และ ปรับการทำงาน ในช่วงการแพร่ระบาด
หนึ่งในผลการสำรวจที่น่าจับตาจากการศึกษาเรื่อง การทำงานที่แตกต่าง (Work Different) ซึ่งเป็นผลสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถาม 611 คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมผู้ตอบแบบสอบถามคนไทยมากกว่า 350 คนที่ให้คะแนน นายจ้างสำหรับมาตรการ การรับมือของบริษัทในช่วงการแพร่ระบาดมากกว่า 6 เดือนที่ผ่านมา ว่ากิจวัตรการทำงานอะไรที่พนักงานต้องการทำต่อไป เมื่อการแพร่ระบาดจบลง และการเปลี่ยนแปลงในนโยบายการทำงานอะไร ที่พนักงานคาดหวังที่จะได้เห็น
คนส่วนใหญ่ที่ตอบแบบสอบถาม (66%) ให้คะแนนนายจ้างสำหรับมาตรการ การรับมือของบริษัทในช่วงแพร่ระบาดว่าอยู่ “เหนือค่าเฉลี่ย”
ในช่วงของการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดและทุกคนทำงานจากบ้าน ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่ง (58%) กล่าวว่า พวกเขาได้รับประสบการณ์ โดยรวมที่ดีขึ้นในช่วงการแพร่ระบาด ในขณะที่ 27% ตอบว่าเหมือนเดิม มาตรการของนายจ้างที่ส่งผลให้พนักงานรู้สึกว่ามีค่าในช่วงการแพร่ระบาด คือ ความยืดหยุ่นเรื่องสถานที่ทำงาน (28%) และการได้รับสิทธิประโยชน์ที่ดีขึ้น (17%)
เหมา เจน ฟู ประธานเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Qualtrics กล่าวว่า “ผลจากการที่นายจ้างคิดไวทำไว ส่งผลให้พนักงานส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รู้สึกมีคุณค่ามากขึ้น (67%) ในองค์กรของพวกเขา และมีความภูมิใจมากขึ้น (68%) ในการจะทำงานให้องค์กร มาตรการดังกล่าวเป็นสิ่งที่เกิดจากการใช้พนักงานเป็นศูนย์กลางในการสร้างนโยบายและการปฏิบัติในช่วงระหว่างการแพร่ระบาด โดยเฉพาะการใช้ฟรีโซลูชั่น Remote และ On-site work pulse ของ Qualtrics ซึ่ง มากกว่า 55,000 องค์กรทั่วโลกได้นำไปใช้งาน”
เหมา เจน กล่าวเพิ่มเติมว่า “ถึงแม้ว่า หลายองค์กร ปรับมาตรการมาถูกทางแล้วก็ตาม ธุรกิจ ต้องยังคงเดินหน้าต่อไป ด้านพนักงาน ยังคงต้องการให้องค์กรรับฟัง และปรับเปลี่ยนนโยบายให้เข้ากับสถานการณ์ ธุรกิจต่างๆควรคำนึงถึงพนักงานเป็นหลัก และนำนโยบายไปปฏิบัติให้เกิดผล เพื่อความสำเร็จของธุรกิจ ในยุคนี้”
ทำงานให้แตกต่างได้อย่างไร
ในขณะที่ธุรกิจต่างๆ ต่างกำลังวางแผนและจัดการการกลับมาทำงาน Qualtrics ได้ศึกษาข้อมูลเชิงลึกว่ามาตรการอะไรที่พนักงานต้องการเห็น และนโยบายอะไรที่พวกเขาคาดหวังจากนายจ้าง”
พนักงานกว่า 90% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอบว่า การสอบถามความคิดเห็นเรื่องนโยบายอะไรที่พวกเขาให้ความสำคัญ ต้องการจะเห็นอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความมั่นใจในการกลับมาทำงาน สองมาตรการสำคัญที่พนักงานส่วนใหญ่ต้องการเห็นมากที่สุด คือ มาตรการด้านสุขอนามัย (11%) และชั่วโมงทำงานที่ยืดหยุ่น (9%)
เหมา เจน กล่าวต่อว่า “ในขณะที่มีการพูดถึงกันมาก ว่าเมื่อไหร่จะกลับมาเหมือนเดิม หรือเราจะคุ้นเคยกับ “ภาวะปกติแบบใหม่” ได้อย่างไร การพูดถึงเช่นนั้นเป็นการพูดที่ อาจจะหลงประเด็นไปจากจุดสำคัญที่ว่า บริษัทต่างๆ จะทำอย่างไรให้กลับมาดีกว่าเดิม แข็งแกร่งกว่าเดิม และ ทำให้พนักงาน รู้สึก ผูกพันกับบริษัทมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเราพบว่า การเปลี่ยนวิธีการรับฟัง เสียงสะท้อนจากพนักงาน และการให้พนักงานมีส่วนร่วม ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมองค์กรที่ดำเนินการ ปรับเปลี่ยนตัวเองก่อนตั้งแต่ช่วงที่ผ่านมาจะได้เปรียบคู่แข่ง และ พร้อมรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีต่อไป นับตั้งแต่การดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถ และสร้างความภักดีต่อองค์กร รวมถึงพนักงาน จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น”
ความสำคัญของฟีดแบค
การศึกษาพบว่า 83% ของพนักงานคิดว่าการที่นายจ้างรับฟังความคิดเห็นในช่วงวิกฤตเป็นสิ่งสำคัญมาก ในขณะที่ 72% ของพนักงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่านายจ้างรับฟังและได้ปฏิบัติ (71%) ตามข้อเสนอแนะมากขึ้นในช่วงที่มีการแพร่ระบาด
เหมา เจน กล่าวต่อว่า “ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การรับฟังและปฏิบัติต่อสิ่งที่พนักงานต้องการ เป็นปัจจัยที่จะสร้างความมั่นใจให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยและรู้สึก ว่าเขาได้รับการสนับสนุนจากองค์กร เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ความคาดหวังของพนักงาน ที่มีต่อองค์กรได้เปลี่ยนไปแล้วโดยสิ้นเชิง องค์กรจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงจากวิธีการเดิมๆ ตอนนี้การมีฟีดแบคและ ได้ข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ว่าเรื่องใดเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด สำหรับพนักงาน เพื่อช่วยในการตัดสินใจ รวมถึงทักษะผู้นำ ที่จะนำ นโยบายไปปฏิบัติให้เกิดผล อย่างมีประสิทธิภาพคือหัวใจหลักในยุคนี้
ผลการศึกษาในแต่ละอุตสาหกรรม
กลุ่มรีเทล: พนักงานรีเทลมากกว่าสามในสี่ (79%) คาดหวังว่าจะได้เห็นองค์กรมุ่งเน้นในการขายผ่านอีคอมเมิร์ซและมีระบบจัดส่งถึงบ้าน (84%) หลังจากช่วงการแพร่ระบาด และเสียงส่วนใหญ่ (83%) คาดหวังว่าธุรกิจจะมุ่งเน้นในการเพิ่มฟังก์ชั่นใช้งานบนเว็บไซต์และปรับปรุงการใช้งานได้มากขึ้น
กลุ่มเทคโนโลยี: พนักงานส่วนใหญ่ (82%) ยอมรับว่าอุตสาหกรรมได้ตอบรับอย่างดีต่อการเปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่ช่วงแพร่ระบาด ซึ่งมากกว่าครึ่ง (66%) รู้สึกว่าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน
การเปลี่ยนแปลงที่พนักงานอยากเห็นซึ่งเป็นผลกระทบจากช่วงแพร่ระบาด ประกอบด้วย
- 70% คาดหวังที่จะให้มีการทำงานจากที่ไหนก็ได้
- 81% คาดหวังว่าจะมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น
- 73% คาดหวังว่าจะมีการเพิ่มการมุ่งเน้นไปที่นวัตกรรมมากขึ้น
กลุ่มยานยนต์: 85% ของพนักงานบอกว่า องค์กรของพวกเขาปฏิบัติได้ดีต่อสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนอันเกิดจาก โควิด-19 ซึ่งครึ่งหนึ่ง (50%) กล่าวว่าพวกเขาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในขณะที่อุตสาหกรรมมีการตอบรับต่อสถานการณ์อย่างดี พนักงานคาดหวังการเปลี่ยนแปลงในเรื่องพื้นฐาน ประกอบด้วย
- 80% คาดหวังว่าจะได้เห็น การส่งมอบรถแบบไร้การสัมผัสไปถึงมือผู้บริโภค
- 76% ยอมรับว่า จะมีการขายรถผ่านออนไลน์มากขึ้น
- 72% ยอมรับว่า จะมีการเปลี่ยนโมเดลการให้บริการและเจ้าหน้าที่ให้บริการ โดยให้บริการจากระยะไกลได้
กลุ่มการบริการทางการเงิน: 83% ของพนักงานบริการทางการเงินยอมรับว่าอุตสาหกรรมของตนตอบรับต่อสถานการณ์โควิด-19 ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ดี พนักงานต่างคาดหวังการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ประกอบด้วย
- 79% คาดหวังที่จะเห็นการทำงานจากที่ไหนก็ได้
- 85% คาดหวังที่จะเห็นบริการออนไลน์และบริการดิจิทัล มากขึ้น
- 79% ยอมรับว่า จะมีการ มุ่งไปใช้เทคโนโลยีใหม่
- 83% คาดหวังว่าจะเห็นการเพิ่มนวัตกรรม เพื่อให้ลูกค้าได้ประโยชน์มากขึ้น
กลุ่มอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการบริการ: การเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมได้รับการคาดหวังว่าจะ เน้นเรื่องของบุคคลและมาตรการการป้องกันด้านสุขอนามัย มากกว่าการเปลี่ยนแปลงทีใช้เทคโนโลยีเป็นตัวนำ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ประกอบด้วย
- 89% คาดหวังว่าที่จะได้เห็นการมุ่งเน้นในเรื่องความสะอาดมากขึ้น
- 79% คาดหวังที่จะมีพื้นที่ส่วนกลาง เพื่อให้การออกแบบการเว้นระยะห่างทางสังคมได้ง่ายขึ้น
- 85% คาดหวังว่าจะมีการลงทุน ในการใช้เทคโนโลยีไร้สัมผัสมากขึ้น
เกี่ยวกับการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้ จัดทำโดย Qualtrics CoreXM™ ผู้นำเทคโนโลยีแพลตฟอร์มบริหารจัดการจากการใช้ข้อมูลด้านประสบการณ์ (X–data) Qualtrics นำข้อมูลเชิงลึกจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 7,505 คนในอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชียแปซิฟิคในเดือนกรกฎาคม 2563 ผลแบบสอบถามสามารถใช้ได้กับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ยานยนต์ การศึกษา บริการการเงิน ภาครัฐบาล เฮลท์แคร์ รีเทล ไฮเทค และการท่องเที่ยวและการบริการ