ทีเส็บเปิดทิศทางขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ไทยปี 67 ดึงทุนวัฒนธรรมและนวัตกรรมเพิ่มคุณค่าไมซ์ผ่าน 3 กลุ่มธุรกิจหลัก

ทีเส็บเปิดแผนเพิ่มคุณค่าอุตสาหกรรมไมซ์ไทย เจาะ 3 กลุ่มธุรกิจหลักโดยสอดแทรกทุนวัฒนธรรมให้เป็นจุดเด่นในระยะยาว ตั้งเป้าสิ้นปี 2567 ดึงนักเดินทางไมซ์ 23.2 ล้านคน ทำรายได้ 1.4 แสนล้านบาท

ทิศทางขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ไทยปี 2567

จิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ เปิดเผยถึงทิศทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ไทยในปี 2567 ว่า “ทีเส็บมุ่งมั่นตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไปทั้งภายในประเทศและต่างประเทศที่ทำให้ภาคธุรกิจต้องปรับตัว เพื่ออยู่รอดและเพื่อรักษาความสามารถทาง การแข่งขัน

จากหลักดังกล่าว ทีเส็บจึงลงทุนทำวิจัยหัวข้อ MICE Foresight ว่าด้วยอนาคตของอุตสาหกรรมไมซ์ เพื่อให้ทราบทิศทางที่จะนำมาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแผนกลยุทธ์ และผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานของทีเส็บใน 21 ปีของการก่อตั้งประสบความสำเร็จ สามารถประมูลสิทธิ์งานไมซ์ระดับโลกได้สำเร็จกว่า 442 งาน และให้การสนับสนุนงานไมซ์ทั้งในและต่างประเทศมากกว่า 6,300 งาน คิดเป็นมูลค่าเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศแล้วไม่ต่ำกว่า 6.3 หมื่นล้านบาท

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไมซ์ 650 รายทั่วโลกยกให้ประเทศไทยเป็นที่หนึ่งในใจ (Top of Mind) เมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ 14 ประเทศทั่วเอเชีย ตามด้วยญี่ปุ่น และสิงคโปร์ โดยประเทศไทยโดดเด่นในเรื่องความคุ้มค่าของการใช้จ่าย ความมีเอกลักษณ์ ความพร้อมในการรองรับนักเดินทาง และภาพลักษณ์ที่เป็นที่ยอมรับในเรื่องไมซ์

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไมซ์ทั่วโลกเผชิญกับความท้าทายสำคัญ ทั้งในส่วนของการเดินทางธุรกิจที่มีแนวโน้มลดลง ช่วงการเดินทางเพื่อร่วมงานไมซ์จะสั้นลง และความต้องการเปลี่ยนไป เช่น นวัตกรรมไมซ์ แหล่งประชุมใหม่ ประสบการณ์ใหม่ เป้าหมายทางธุรกิจใหม่และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

ดังนั้น ทีเส็บจึงได้กำหนดแนวทางในอนาคตพุ่งเป้าพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็นแหล่งประชุมที่ให้มูลค่าและคุณค่าสูง (High Value-Added Destination) และสร้างกลยุทธ์ใหม่ โดยผสมผสานอัตลักษณ์ความเป็นไทย ผ่านการใช้นวัตกรรม/ความคิดสร้างสรรค์และกระชับการทำงานร่วมกับภาคีทุกภาคส่วน

“แนวทางนี้จะสร้างความแตกต่างที่โดดเด่นและคุณค่าให้แก่กิจกรรมไมซ์ที่จัดในประเทศไทย ซึ่งเราหวังว่าในอีกสิบปีข้างหน้า ภาพลักษณ์ไมซ์ไทยจะชัดเจนในฐานะแหล่งประชุมที่มีคุณค่าสูง เพิ่มบทบาทไทยในการกระตุ้นไมซ์ทั่วเอเซีย เป็น Springboard of ASIA’s Growth ภาคธุรกิจมีความก้าวหน้า มั่นคง”

MICE Foresight

ทั้งนี้ จากการศึกษาวิจัยหัวข้อ MICE Foresight พบว่า พฤติกรรมท่ีคาดว่าจะเกิดขึ้นหลังกลับเข้าสู่สภาวะปกติใหม่ ของนักเดินทางไมซ์ โดยมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมท้ังในประเทศและระดับโลกคาดการณ์ว่า ผลกระทบจากโควิด-19 กลุ่ม Incentive ยังคงกังวลเรื่องความสะอาดปลอดเชื้อและต้องการมาตรการด้านความปลอดภัยมากกว่าแต่ก่อน และมีแนวโน้มจะเน้นตลาดในภูมิภาคมากขึ้น เพราะกังวลที่จะเดินทางไกลและคํานึงถึงงบประมาณที่เหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจ รูปแบบการจัดงานจะเกิดการเปลี่ยน แปลงโดยมีแนวโน้มจะมีรูปแบบงานที่ผสมผสานกันมากขึ้น ขนาดของงานถูกคาดการณ์ว่างานที่ขนาดใหญ่ไปเลย และงานที่มีขนาดเล็กแต่จัดได้ถี่ขึ้นน่าจะมีแนวโน้มเติบโตงานขนาดกลางจะได้รับความท้าทาย ด้าน Mega Event ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า การแข่งขันจะรุนแรงมากยิ่งขึ้นทําให้นักเดินทางได้รับประโยชน์ เพราะมีทางเลือกที่หลากหลาย น่าสนใจ จากผลการวิจัยจากกลุ่มนักเดินทางไมช์าวต่างชาติพบพฤติกรรมในการเดินทางท่ีน่าสนใจ ดังนี้

1) นักเดินทางไมซ์ในภาพรวมส่วนใหญ่คาดว่า จะมีความถี่ในการเดินทางลดลงจากช่วงก่อนเกิดโควิด -19 โดย 52.8% ประเมินว่า จะเดินทาง 1-5 ครั้ง/ปีที่มากกว่า 6ครั้งขึ้นไปท่ีมากกว่ากลุ่ม C และ V (ผลตอบรับจากงานวิจัยใน ณ ปัจจุบันช่วงหลังโควิด-19)

2) ในภาพรวมนักเดินทางไมซ์ครึ่งหนึ่งคาดว่าใช้เวลาในประเทศปลายทางลดลงก่อนเกิดโควิด-19 อีกครึ่งหนึ่งคาดว่า จะใช้เวลาเท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยกลุ่ม C,E,V มากกว่า 40% ต้องการใชเ้วลาร่วมงาน 1-3 วันและ 4-5 วันในประเทศปลายทาง ขณะที่ M&I 47.4% ต้องการโปรแกรมจัดงาน 4-5 วันและใชเ้วลาในประเทศปลายทางตั้งแต่ 4-10 วัน

3) ช่วงเดือนในการจัดงานที่ทําให้สนใจเข้าร่วมงานพบว่า ช่วงเดือนที่กลุ่มนักเดินทางให้ความสนใจค่อนข้างมากเฉลี่ยในสัดส่วน 20-30% ใกล้เคียงกันตลอดทั้งปี โดยหากพิจารณานักเดินทางในกลุ่มย่อยในช่วงเดือนที่เกิน 30%พบว่า มีข้อแตกต่างกัน ดังนี้

4) กลุ่มนักเดินทาง M&I, E และV ให้ความสนใจไปเที่ยวต่อยังเมืองที่เป็น Tourist Attraction ของประเทศนั้นๆ ขณะที่กลุ่ม C สนใจท่องเที่ยวในเมืองเดียวกันมากกว่าในประเด็นการท่องเที่ยวเชื่อมโยงนี้ ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมไมซ์ทั้งไทยและระดับโลก ได้ให้ความเห็นว่า มีการเปลี่ยนแปลงของนักเดินทาง คือ นักเดินทางจะไม่เดินทางตามการ PR แล้ว แต่จะสนใจตาม Influencer มากกว่า และนักเดินทางคนรุ่นใหม่จะกลายเป็น Experiential Travel ต้องการสิ่งใหม่ๆ อยากสัมผัสประสบการณ์ที่มีความ Authentic & Immersive ได้สัมผัสความเป็นชุมชนในพื้นที่ที่นักท่องเที่ยวทั่วไปไม่ได้เข้าถึง และผู้บริหาร สสปน. พบข้อสังเกตว่า นักเดินทางจะเริ่มให้ความสนใจกับคุณค่าของการไดเ้ป็นผู้ ให้ ได้อุดหนุนชุมชนหรือได้ร่วมทำกิจกรรมเชิงอนุรักษ์

5) ในอนาคตระยะต่อไป ผู้เชี่ยวชาญมองวา่ นักเดินทางไมซ์ที่จะมีอิทธิพลต่อการจัดงาน คือ กลุ่มนักเดินทางที่อายุน้อยลง ซึ่งมีแนวโน้มจะมีความคาดหวังต่องานและการเดินางที่มากขึ้น และให้ความสำคัญกับความยั่งยืน โดยในระยะ 7 ปีมานี้พบว่า Gen Z ที่มีสัดส่วน 26-30% ของประชากรโลก และเป็นกลุ่มที่วงการนักเดินทางเรียกว่า Next Gen Event Goer (NGEG) ในการสํารวจมุมมองของนักเดินทางกลุ่มนี้ จากงานวิจัยของ The Freeman Trends Report ได้ชี้ดให้เห็นถึงวิธีคิด พฤติกรรม และความคาดหวังที่แตกต่างของนักเดินทางกลุ่มนี้ โดยพบว่า มีแนวโน้มจะต้องการกกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่าที่ชัดเจนและให้โอกาสสําหรับการเติบโตอย่างมืออาชีพและไม่ตอบสนองต่อกลยุทธ์แบบ One-size-fit-all อีกต่อไปต้องให้ความรู้สึกที่แท้จริงมากขึ้น เและเป็นส่วนตัมากขึ้น ให้ความสำคัญอย่างที่สุด และต้องพูดถึงแรงบันดาลใจในอาชีพของพวกเขาโดยตรง มีความชอบในการจัดงานแบบพบหน้า แต่ก็พร้อมที่จะออนไลน์หากรู้สึกว่าเป็นประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร ไ่ม่สามารถเข้าถึงได้จากที่อื่น พวกเขาคำนึงถึงงบประมาณน้อยลง และยากที่จะต่อรองเวลา

ผลักดันการเติบโตขอุตสาหกรรมไมซ์ไทยผ่าน 3 กลุ่ม

สำหรับการดำเนินงานในปี 2567 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเป้าหมาย Springboard of Asia’s Growth นั้น ทีเส็บจะผลักดันการเติบโตของอุตสาหกรรมไมซ์ไทยผ่าน 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่

1. งานเทศกาลนานาชาติ (Festival) ซึ่งที่ผ่านมา ทีเส็บได้สนับสนุนงานเทศกาลกว่า 100 งาน สร้างเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจให้ประเทศกว่า 5 หมื่นล้านบาทโดยทิศทางการดำเนินงานในอนาคต ทีเส็บจะขับเคลื่อนโดยใช้ “ต้นทุน” ทางสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจหรือ Soft Power เป็นตัวสร้างมูลค่าแบบ 360 องศา ในการสร้างประสบการณ์ ที่มีอัตลักษณ์ มีคุณค่า และเป็นจุดขายใหม่ ที่ขับเคลื่อนโดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยมีมาตรการในระยะเร่งด่วน (Quick Win) ที่ต้องทำในปี 2567 คือ เร่งทำตลาดเชิงรุกในต่างประเทศ เน้นสร้างเครือข่ายผ่านการทำ Roadshow One-on-One Meeting ควบคู่กับการเปิดเวทีรับฟังความท้าทายต่างๆ เพื่อมุ่งสู่การสร้างเครือข่ายและโอกาสในเวทีโลก

2. การแสดงสินค้านานาชาติ จากรายงานของสมาคมการแสดงสินค้าโลก หรือ UFI พบว่า ในปี 2565 ประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่งของอาเซียน และอันดับ 4 ของเอเชีย ในด้านพื้นที่การจัดงานแสดงสินค้า และในปี 2566 งานแสดงสินค้ายังเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มรายได้และจำนวนนักเดินทางไมซ์ต่างชาติเข้าสู่ไทย ซึ่งเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึง 68% หรือเทียบเท่ากับรายได้ในปี 2562 ซึ่งเป็นปีที่มียอดสูงสุดก่อนการระบาดของโควิด 19 นอกจากนี้ยังมีงานแสดงสินค้าใหม่เกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 25 งาน และมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อไปในอนาคต ทีเส็บจึงได้เตรียมแนวทางในการสร้างความได้เปรียบด้านแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้าไทย โดยการสร้างเครื่องมือวิเคราะห์การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในตลาดที่การแข่งขันยังไม่สูงนัก (Blue Ocean) พร้อมสร้างและขยายโอกาสทางธุรกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

3. ตลาดไมซ์ในประเทศ ในปี 2566 มีนักเดินทางไมซ์ในประเทศ จำนวน 16.5 ล้านคน คิดเป็น 95% ของนักเดินทางไมซ์โดยรวมทั้งในและต่างประเทศ สร้างรายได้ประมาณ 5 แสนล้านบาท และยังเป็นพื้นฐานสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมไมซ์ไทย ช่วยลดความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุม และทำให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ทีเส็บจึงได้เตรียมความพร้อมการพัฒนาและยกระดับพื้นที่เป้าหมาย (Destination Readiness) และการสร้างประสบการณ์ที่มีคุณค่า (Authentic Experience) เชื่อมโยงเมืองไมซ์ทั้ง 10 แห่ง พร้อมเปิดตัวแคมเปญ ยกทีมประชุม รุมรักเมืองไทย เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนในภาพรวม โดยกำหนดเป้าหมายว่า สิ้นปีงบ ประมาณ 2567 ประเทศไทยจะมีนักเดินทางไมซ์ รวมทั้งสิ้น 23.2 ล้านคน ทำรายได้ 1.4 แสนล้านบาท แบ่งเป็นตลาดต่างประเทศ 9.6 แสนคน รายได้ 6.3 หมื่นล้านบาท และตลาดในประเทศ 22.2 ล้านคน รายได้ 7.3 หมื่นล้านบาท