1 ใน 2 ของผู้บริหารกำลังเผชิญ ‘ช่องว่างแห่งความยืดหยุ่น’ SAS เปิดตัวเครื่องมือประเมินความยืดหยุ่นเพื่อประเมินธุรกิจได้อย่างฉับไว

แม้ว่าโลกจะเผชิญกับเทคโนโลยี/นวัตกรรมใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และความไม่ชัดเจนทางเศรษฐกิจในระยะเวลาตลอด 3 ปี แต่เมื่อพูดถึงเรื่องความยืดหยุ่น ผู้บริหารจำนวนถึง 53% ยอมรับว่า บริษัทของตนไม่อยู่ในจุดที่ควรจะเป็น ซึ่งถือเป็นผลการวิจัยจากการสำรวจธุรกิจทั่วโลกโดย SAS ผู้นำด้านระบบวิเคราะห์ได้ค้นพบในลำดับต้นๆ  โดย “กฎแห่งความยืดหยุ่น” (Resiliency Rules) จะช่วยสำรวจสถานะปัจจุบันของความยืดหยุ่นในแต่ละธุรกิจ รวมถึงวิธีการที่บริษัทในหลายๆ อุตสาหกรรม และรัฐบาลใช้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงและคว้าโอกาส

นอกเหนือจากรายงานดังกล่าวแล้ว SAS ได้พัฒนาเครื่องมือประเมินความยืดหยุ่นชุดใหม่ โดยเป็นเครื่องมือการประเมินออนไลน์ที่ไม่คิดมูลค่า ซึ่งจะช่วยให้ผู้นำทางธุรกิจสามารถประเมินความชาญฉลาดทางความยืดหยุ่นของบริษัทของตนเองได้ตาม “กฎแห่งความยืดหยุ่น” 5 ประการตามที่สำรวจในการวิจัย

วาทศิลป์กับความเป็นจริง

SAS ได้สำรวจผู้บริหารระดับสูง 2,414 คนกับบริษัทต่างๆ ทั่วโลกที่มีพนักงานกว่า 100 คน และพบว่า

  • 70% มองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับอนาคตของเศรษฐกิจของประเทศ
  • 80% กำลังวางแผนการลงทุนและวางกลยุทธ์เพื่อความยืดหยุ่น

นอกจากนี้ ผู้บริหารยังให้ความสำคัญกับ “ช่องว่างด้านความยืดหยุ่น” (Resiliency Gap) ซึ่งเป็น “ความยืดหยุ่น” กับ “ความยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นจริงในองค์กร” ดังนี้

  • 97%  เชื่อว่า ความยืดหยุ่น สำคัญมาก หรือค่อนข้างสำคัญ
  • 47%  มองว่า บริษัทของตนมีความยืดหยุ่น
  • 46%  ยอมรับว่า ตนเองไม่มีความพร้อมอย่างเต็มที่ที่จะเผชิญกับเทคโนโลยี/นวัตกรรมใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลง และภาวะความยากลำบากในการจัดการกับความท้าทายต่างๆ เช่น
    • ความปลอดภัยของข้อมูล (48%)
    • ประสิทธิภาพการทำงาน (47%)
    • การขับเคลื่อนนวัตกรรมเทคโนโลยี (46%)

แม้ว่าช่องว่างด้านความยืดหยุ่นจะเกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน แต่ผู้บริหารมีความเห็น ดังนี้

  • 81% ระบุว่า ความยืดหยุ่นสามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้ด้วยคำแนะนำและเครื่องมือที่เหมาะสม
  • 90% เห็นว่า ข้อมูลและการวิเคราะห์เป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับกลยุทธ์ความยืดหยุ่น

Jay Upchurch รองประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศของ SAS กล่าวว่า “เราต้องการช่วยผู้บริหารในอุตสาหกรรมต่างๆ ให้สามารถแข่งขันได้ โดยใช้ข้อมูลและการวิเคราะห์เพื่อสร้างกลยุทธ์ความยืดหยุ่นอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ “การใช้ดัชนีความยืดหยุ่น” (Resiliency Index) ซึ่งเป็นเครื่องมือวิจัยและการประเมินที่เราเปิดตัวนี้ จะทำให้องค์กรสามารถระบุจุดแข็งที่มีอยู่ และช่องทางที่ธุรกิจสามารถเติบโตได้ดีขึ้น ข้อมูลเชิงลึกนี้จะช่วยปิดช่องว่าง รวมถึงเสริมสร้างเครื่องมือและระบบเชิงกลยุทธ์ให้แข็งแกร่งกว่าเดิม และคล่องตัวมากขึ้น เมื่อเผชิญกับความท้าทายและเทคโนโลยี/นวัตกรรมใหม่เข้ามาเปลี่ยน แปลงได้”

กฎความยืดหยุ่น 5 ข้อและความจำเป็นของข้อมูลและการวิเคราะห์

“กฎแห่งความยืดหยุ่น  5 ประการ” ของ SAS เพื่อเป็นเครื่องมือในการรักษาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของความยืดหยุ่นทางธุรกิจ ประกอบด้วย

  1. ความเร็วและความว่องไว
  2. นวัตกรรม
  3. ความเสมอภาคและความรับผิดชอบ
  4. วัฒนธรรมข้อมูลและทักษะทางด้านข้อมูล
  5. ความอยากรู้อยากเห็น

ทั้งนี้ จากการจัดลำดับความสำคัญและดำเนินการแต่ละข้อของผู้บริหารพบว่า

ผู้บริหารที่มีความยืดหยุ่นสูงให้ความสำคัญกับมูลค่าที่สูงกว่าและลงทุนมากกว่าผู้บริหารที่มีความยืดหยุ่นต่ำในแต่ละด้าน สิ่งนี้สอดคล้องกันในการตอบสนองทั่วประเทศและการแบ่งกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งบ่งชี้ว่าผู้บริหารมองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบพื้นฐานสำหรับกลยุทธ์ความยืดหยุ่น

สำหรับบทบาทสำคัญด้านข้อมูลและการวิเคราะห์ในการนำกฎความยืดหยุ่นไปใช้ พบว่า   

  • 96% ใช้ข้อมูลทั้งภายในและภายนอก และการวิเคราะห์ เพื่อช่วยตัดสินใจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง และช่วยให้เกิดความต่อเนื่องทางธุรกิจ
  • ผู้บริหารธุรกิจที่มีความยืดหยุ่นสูงอ้างว่า ใช้ข้อมูลมากกว่าเครื่องมืออื่นๆ ที่มีความยืดหยุ่นน้อย (93% เทียบกับ 22% ที่มีความยืดหยุ่นต่ำ)

เบื้องหลังการวิจัย: SAS นำเสนอดัชนีความยืดหยุ่น

สำหรับการศึกษาครั้งนี้ SAS ได้สร้างวิธีการประเมินที่เรียกว่า ดัชนีความยืดหยุ่น เพื่อทำความเข้าใจว่าความยืดหยุ่นเหมาะสมกับลำดับความสำคัญและการลงทุนของผู้บริหารเมื่อใด โดย SAS แบ่งประเภทผู้ตอบแบบสอบถามออกเป็นสามประเภทดังนี้

  • ความยืดหยุ่นสูง: 26%
  • ความยืดหยุ่นปานกลาง: 54%
  • ความยืดหยุ่นต่ำ: 20%

เมื่อเปรียบเทียบแนวปฏิบัติจากธุรกิจของแต่ละคน ผู้บริหารที่มีความยืดหยุ่นสูงมองว่าควรผสานรวมกลยุทธ์ที่มีโครงสร้างเข้าไปเป็นส่วนสำคัญในแผนด้วย เนื่องจากเป็นมากกว่าการจัดการเรื่องเทคโนโลยี/นวัตกรรมใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลง แต่มีส่วนในความมั่นคงของธุรกิจ กลยุทธ์ความยืดหยุ่นส่งผลกระทบต่อตัวชี้วัดทางธุรกิจที่สำคัญ กับประสิทธิภาพ การทำงานและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอีกด้วย

เรียนรู้จากผู้บริหารที่มีความยืดหยุ่นสูง

การช่วยบริษัทปิด “ช่องว่างด้านความยืดหยุ่น” เริ่มต้นด้วยการได้รับข้อมูลและการวิเคราะห์ที่ถูกต้องในมือของผู้บริหาร ด้วยเหตุนี้ SAS จึงได้เปิดตัว Resiliency Assessment Tool เป็นเครื่องมือที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่อ้างอิงจาก Resiliency Index เพื่อให้ทุกคนสามารถประเมินธุรกิจและวางแผนการดำเนินงานของตนเองได้ โดยเครื่องมือมาพร้อมกับข้อมูลเชิงลึกจากผู้บริหารที่มีความยืดหยุ่นสูงจากงานวิจัยรายงานและมอบแนวทางปฏิบัติงานเพื่อส่งเสริมความยืดหยุ่นทางธุรกิจที่มากขึ้น