ลูกค้าสลัดปลอดสารพิษของโจนส์สลัดสามารถนำซากมือถือ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดกลางและเล็ก รวมไปถึงอุปกรณ์สื่อสารและอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ได้ที่ถังขยะอิเล็กทรอนิกส์ของดีแทค ‘ทิ้งให้ดี’ ได้ที่ร้านโจนส์สลัด สาขาเดอะ มาร์เก็ต แบงคอก ตรงข้ามเซ็นทรัลเวิลด์, ร้านโจนส์สลัด สาขาศาลาแดง, และร้านโจนส์สลัด สาขาเซ็นทรัล พลาซ่า เวสต์เกต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ขยะอิเล็กทรอนิกส์ถูกจัดประเภทเป็นขยะอันตรายที่มีสัดส่วนสูงถึง 65% จากขยะอันตรายทั้งหมดที่จัดเก็บได้ทั่วประเทศ ซึ่งได้รับการจัดการอย่างถูกวิธีเพียง 13% เท่านั้น
ทั้งนี้ จากการคาดการณ์ปริมาณซากโทรศัพท์มือถือจากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า โทรศัพท์มือถือเป็นซากผลิตภัณฑ์ฯ ที่พบมากที่สุดและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2564 คาดว่าจะพบซากดังนี้
- ขยะโทรศัพท์มือถือจำนวน 13.42 ล้านเครื่อง
- อุปกรณ์เล่นภาพ/เสียงขนาดพกพาอีก 3.65 ล้านเครื่อง
สำหรับซากมือถือ อุปกรณ์เชื่อมต่อ รวมไปถึง อุปกรณ์ติดตัวประเภทนาฬิกาอัจฉริยะ (smart watch) นับเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นขยะอันตราย สามารถปล่อยสารเคมีอันตราย เช่น สารหนู สารตะกั่ว สารปรอท สารแคทเมียม ฯลฯ ปนเปื้อนในแหล่งน้ำและแหล่งดิน ซึ่งถูกใช้เป็นแหล่งเพาะปลูก จากกรณีศึกษาแหล่งชุมชนคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยผู้เชี่ยวชาญของกรมควบคุมมลพิษ และสำนักสิ่งแวดล้อมภาคที่ 11 จ.นครราชศรีมา เก็บตัวอย่างน้ำผิวดินและตัวอย่างดิน 4 จุด พบสารหนูและตะกั่วเกินค่ามาตรฐานของดินที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัยและเกษตรกรรมจำนวน 1 จุด ที่สาธารณะ (โคกขอนแก่น) ต.บ้านเป้า อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งการปนเปื้อนเหล่านี้ เกิดจากขั้นตอนการคัดแยก รื้อ และถอดชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยการเททิ้งเศษหรือสารอันตรายลงดิน
อาริยะ คำภิโล กรรมการบริหารและเจ้าของร้านโจนส์สลัด กล่าวว่า “ความร่วมมือกับดีแทค ‘ทิ้งให้ดี’ ถือเป็นความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญและเป็นการแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างโจนส์สลัดและดีแทคที่จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยสร้างแหล่งอาหารปลอดภัยอย่างยั่งยืน ในแต่ละปี โจนส์สลัดสั่งซื้อผักสลัดปลอดสารพิษมากถึง 700 ตันต่อปี จากเกษตรกรในเครือข่าย ซึ่งเป็นหุ้นส่วนสำคัญที่ช่วยเพาะปลูก ดูแล และส่งมอบพืชผักมาให้เราปรุงสลัดที่สดใหม่ด้วยความใส่ใจและห่วงใยผู้บริโภค นี่จึงถึงเวลาแล้วที่โจนส์สลัดจะได้ตอบแทนด้วยการช่วยดูแลแหล่งดินและน้ำที่ใช้เพาะปลูกให้ปลอดจากสารเคมีร้ายแรงปนเปื้อนอันเป็นผลมาจากการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ถูกวิธี ลูกค้าของโจนส์สลัดสามารถนำซากมือถือและอุปกรณ์เสริมอื่นๆ มาทิ้งที่เราได้ เราจะร่วมกับดีแทคนำไปจัดการและรีไซเคิลอย่างถูกวิธี เพื่อไม่ให้สารเคมีปนเปื้อนกลับมาทำร้ายสุขภาพผ่านจานอาหารของเรา”
ชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอคเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด มหาชน กล่าวว่า “ดีแทคมีความยินดีและขอขอบคุณที่โจนส์สลัดร่วมกำหนดเป้าหมายไปกับเราในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคและเพื่อนร่วมโลก ขยะที่เราจะจัดเก็บร่วมกับโจนส์สลัดจะเป็นสัดส่วนสำคัญจากเป้าหมายที่เราตั้งใจจะจัดเก็บซากมือถือและอุปกรณ์เชื่อมต่อให้ได้รวม 50,000 ชิ้นภายในสิ้นปีนี้ แต่ก็ยังถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่จะเกิดขึ้นทั้งหมดในระบบ ทั้งนี้ การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีความรับผิดชอบถือเป็นเป้าหมายสำคัญตามแผนงานการจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสภาวะอากาศ (Environment Management System and Climate) ของกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนที่ดีแทค นอกจากขยะประเภทซากมือถือและอุปกรณ์เสริมที่ดีแทคจัดเก็บจากลูกค้าและผู้ใช้งานทั่วไปแล้ว”
ดีแทค ‘ทิ้งให้ดี’ คัดเลือกบริษัทรีไซเคิลที่ได้มาตรฐานสากล จัดเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านนำมาทิ้งไว้ที่ศูนย์บริการดีแทคสาขาทั่วประเทศ และที่ร้านโจนส์สลัดตามสาขาที่กำหนด เมื่อบริษัทรีไซเคิลได้รับซากขยะอิเล็กทรอนิกส์จะทำการลบข้อมูล และทำลายหน่วยความจำโดยการใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์เพื่อลบข้อมูล 3 รอบ และเขียนข้อมูลทับอีก 1 รอบ เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมมั่นใจว่าจะไม่มีข้อมูลของเจ้าของขยะอิเล็กทรอนิกส์รั่วไหลออกไปได้ หลังจากนั้นจะทำการคัดแยกชิ้นส่วนตามประเภทวัสดุ เช่น โลหะ พลาสติก เหล็ก แผงวงจร จากนั้นจะเข้ากระบวนการย่อยสลายเพื่อนำกลับไปเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมใหม่
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของดีแทค ‘ทิ้งให้ดี’ เพิ่มเติมได้ที่ https://www.dtac.co.th/sustainability/ewaste/