“เข็มเหล็ก” ถือเป็นผู้นำตลาดวงการก่อสร้างฐานรากของไทยที่มีโปรดักท์เรือธงอย่าง “เสาเข็มเหล็กกล้าแบบเกลียว” (Screw Steel Piles) และเพิ่งได้รับใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) อย่างเป็นทางการ โดย เข็มเหล็ก ถือว่าเป็นรายแรกที่ได้รับ มอก.3357-2565 สำหรับเสาเข็มเหล็กกล้าแบบเกลียวในประเทศไทย ภายใต้การนำของ คุณประเสริฐ ธรรมมนุญกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เข็มเหล็ก จำกัด ที่คร่ำหวอดในแวดวงการก่อสร้างมากว่า 20 ปี

อยากให้กล่าวถึงการที่เสาเข็มเหล็กกล้าแบบเกลียวของ บริษัทฯ ได้รับ มอก.ในครั้งนี้ว่าเป็นอย่างไร
ผลิตภัณฑ์เสาเข็มเหล็กกล้าแบบเกลียว ที่ได้รับ มอก. 3357-2565 ในครั้งนี้ เราเป็นรายแรกที่ได้รับ มอก. เสาเข็มเหล็กกล้าแบบเกลียวในประเทศไทย ซึ่งนับเป็นเครื่องหมายการันตีด้านคุณภาพและความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานการผลิต เนื่องจากเสาเข็มเหล็กกล้าแบบเกลียว ของบริษัทฯ ผ่านการออกแบบและผลิตตามหลักวิศวกรรมขั้นสูง ควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอน เพื่อให้มั่นใจว่า งานฐานรากจะได้รับทั้งความมั่นคง แข็งแรงและความปลอดภัยสูงสุด นอกจากนี้ ยังนับเป็นก้าวสำคัญของวงการก่อสร้างฐานรากของประเทศไทย โดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์เสาเข็มเหล็ก ซึ่งยังไม่เคยมีบริษัทใดได้รับการรับรองมาก่อน นอกจากนี้ เรามุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์และสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ด้วยนวัตกรรมที่ปลอดภัย ประหยัดเวลา และมีประสิทธิภาพสูงอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ กล่าวได้ว่า ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเสาเข็มเหล็กกล้าแบบเกลียวได้รับความนิยมในการนำมาใช้เป็นเสาเข็มสำหรับรองรับน้ำหนักโครงสร้าง รั้วและเสาอย่างแพร่หลาย เป็นนวัตกรรมฐานรากยุคใหม่ที่ออกแบบมา เพื่อตอบโจทย์งานก่อสร้างที่ต้องการความรวดเร็วในการติดตั้ง ลดแรงสั่นสะเทือน ไม่ก่อให้เกิดเสียงดังหรือฝุ่นละออง และสามารถติดตั้งได้แม้ในพื้นที่จำกัด เหมาะสำหรับงานก่อสร้างในเขตเมือง งานต่อเติมอาคาร และงานที่ต้องการควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
“เสาเข็มเหล็กกล้าแบบเกลียว” (Screw Pile) มีความโดดเด่นกว่า “เสาเข็มแบบเจาะ” (Bored Pile) อย่างไร
ความโดดเด่นของ “เสาเข็มเหล็กกล้าแบบเกลียว” อยู่ที่ทำให้โครงการก่อสร้างสามารถติดตั้งได้รวดเร็ว ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเหมาะสำหรับโครงการทั้งในภาคที่อยู่อาศัยและอุตสาหกรรม ที่สำคัญ ยังเป็นวัสดุก่อสร้างที่ช่วยการปฏิวัติงานก่อสร้างฐานรากของประเทศไทยได้ กล่าวคือ “เสาเข็มเหล็กกล้าแบบเกลียว” ของ “เข็มเหล็ก” หมายถึง การใช้เทคโนโลยีใหม่ในการก่อสร้างที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อและใช้กลไกที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น การติดตั้งเข็มเหล็กที่ไม่จำเป็นต้องขุดดินออก เนื่องจากกระบวนการนี้ไม่ต้องขุดดินออกมาหรือใช้วัตถุดิบอื่นๆ ที่ต้องการการขนส่งมาก ทำให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในกระบวนการก่อสร้างได้ถึงประมาณ 30% และเมื่อใช้เทคนิคนี้จะไม่มีการสร้างขยะจากดินที่ขุดขึ้นมา จึงทำให้เกิดการเลี่ยงการจัดการกับเศษวัสดุที่ต้องนำไปทิ้ง ซึ่งต่างจากการใช้เสาเข็มเจาะที่จะต้องขุดดินออกเป็นจำนวนมาก อีกทั้งใช้เวลาติดตั้งในส่วนงานฐากรากน้อยกว่าเสาเข็มเจาะทั่วไป และสามารถทำงานได้ตลอดทั้งวันและกลางคืน โดยไม่สร้างเสียงหรือแรงสั่นสะเทือนอีกด้วย เนื่องจากมีเสียงและการสั่นสะเทือนต่ำมากอยู่ที่ประมาณ 0.1-0.01 มิลลิเมตร ทำให้สามารถทำงานในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นหรือในเวลากลางคืนได้โดยไม่รบกวนการจราจรหรือความเป็นอยู่ของประชาชน.
ที่สำคัญ “เสาเข็มเหล็กกล้าแบบเกลียว” ของ “เข็มเหล็ก” ยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หลังจากการก่อสร้าง นอกจากนี้ยังมีการให้เช่าเข็มเหล็กสำหรับโครงการต่างๆ ที่ต้องการใช้งานเสาเข็มเพื่อติดตั้งในระยะสั้น เช่น งานอีเว้นท์ งานตกแต่งสวน ซึ่งเป็นรุกขวิศวกรรม ฯลฯ ทำให้ลดการสูญเสียทรัพยากร และสามารถลดต้นทุนการก่อสร้างได้อย่างมีนัยสำคัญ

ความแตกต่างระหว่าง เสาเข็มแบบเกลียว และ เสาเข็มเจาะ
วิธีการติดตั้ง
- เสาเข็มแบบเกลียว: จะมีการติดตั้งโดยการหมุนเข้าไปในดิน ใช้แรงดันที่ต่ำ และไม่ต้องทำการขุดดินออกมา ทำให้ไม่เกิดการรบกวนกับสภาพแวดล้อม
- เสาเข็มเจาะ: จะต้องเจาะดินด้วยการขุดก่อน จากนั้นจึงจะเติมปูนซีเมนต์เข้าไป ทำให้มีเศษดินที่ต้องนำออก.
ลักษณะของดินที่สามารถใช้ได้
- เสาเข็มแบบเกลียว: สามารถใช้งานได้ในดินที่มีความหนืดสูงหรือมีการไหลตัวได้ง่าย
- เสาเข็มเจาะ: สามารถใช้งานได้ในหลากหลายรูปแบบของดิน แต่ต้องเจาะให้หมดก่อนที่จะติดตั้งเข็ม
เวลาและค่าใช้จ่าย
- เสาเข็มแบบเกลียว: ติดตั้งได้เร็วกว่ามาก เพราะไม่ต้องขุดดินออก ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง
- เสาเข็มเจาะ: ใช้เวลานานกว่าในการติดตั้ง เพราะต้องมีขั้นตอนการเจาะและเติมปูน
ผลกระทบต่อที่ตั้ง
- เสาเข็มแบบเกลียว: มีเสียงและการสั่นสะเทือนน้อยเมื่อทำการติดตั้ง
- เสาเข็มเจาะ: อาจทำให้มีเสียงและการสั่นสะเทือนขณะทำการติดตั้งมากกว่า
หมายเหตุ: การเลือกใช้เสาเข็มแต่ละประเภทจะขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและสภาพพื้นที่ที่ต้องการดัดแปลง.
ตัวอย่างโครงการที่ใช้ “เสาเข็มเหล็กกล้าแบบเกลียว” ของ “เข็มเหล็ก” มีอะไรบ้าง
บริษัทฯ มีตัวอย่างโครงการที่อยู่ในใจกลางเมืองที่ผู้คนรู้จักกันอย่างดีหลายโครงการ อาทิ
- โรงพยาบาลจุฬา : การติดตั้งเข็มเหล็กสำหรับทางเดินสกายวอล์คที่เชื่อมไปยังพื้นที่ใกล้เคียง
- โครงการวันแบงค็อก : การติดตั้งเข็มเหล็กลึก 12 เมตรในงานใต้ดิน ซึ่งช่วยลดการสั่นสะเทือนและสามารถทำงานกลางคืนได้
- โครงการย้าย “ตึกถาวรวัตถุ” (“ตึกแขก”ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5) หรือที่เรียกกันว่า “ตึกแดง” ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับสนามหลวง ติดกับวัดมหาธาตุ และเดิมทีเป็นที่ตั้งของหอสมุดแห่งชาติ สำหรับการย้ายตึกดังกล่าว บริษัทได้ติดตั้งเข็มเหล็กสำหรับฐานรากที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายตึก
- งานอีเว้นท์ต่างๆ เช่น การตั้งเสาไฟไฮแมสก์ (High Mast Light Poles) ซึ่งสามารถใช้เข็มเหล็กในการติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว
บริษัทฯ มีแผนการต่อยอดกับโครงการอื่นๆ อย่างไร
“เข็มเหล็ก” มีแผนต่อยอดโครงการความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เพื่อการวิจัยและพัฒนา การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีมาตรฐานและความปลอดภัย เช่น การออกแบบระบบที่สามารถต้านทานแรงลมได้ นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับต้นไม้และระบบของดิน เช่น การสร้างพื้นที่สวนเพื่อส่งเสริมการใช้งานที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ฯลฯ