โซลูชั่น คาดการณ์ความต้องการสินค้าในซัพพลายเชนสำหรับธุรกิจค้าปลีก และสินคัาอุปโภคบริโภค ตอบรับเทรนด์ครอบครัวเดี่ยว

ในโลกที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ธุรกิจค้าปลีกและสินค้าอุปโภคบริโภคต่างต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย อาทิเช่น การขาดแคลนวัตถุดิบ ความล่าช้าในการ กระจายสินค้า ต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ความเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล และปัจจัยภายนอกอื่นๆ โดยความท้าทายเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อความต้องการต่อสินค้าของผู้บริโภคอย่างมีนัยยะสำคัญและมีความสำคัญต่อความสำเร็จทางธุรกิจ

แนวโน้มของประชากรและการเติบโตของเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับความเป็นอิสระ ส่งผลให้ครัวเรือนคนเดียว (Single-person households) เกิดขึ้นทั่วโลกในเวลาอันรวดเร็ว ข้อมูลจาก ยูโรมอนิเตอร์ พบว่า ประเทศไทยจัดอยู่ในอับดับหนึ่งในสามของประเทศที่มีส่วนแบ่งของครัวเรือนคนเดียวมากที่สุดระหว่างปี 2553 ถึง 2583 ขณะที่ในปี 2562 อัตราการเติบโตของรายจ่ายในครัวเรือนคนเดียวอยู่ที่ประมาณ 50% และอัตราดังกล่าวคาดว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 150% ในปี 2583 ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของครัวเรือนคนเดียวกำลังกลายเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมค้าปลีก ที่ผู้ค้าปลีกจึงจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การจัดการสินค้าคงคลังและมีเครื่องมือที่ช่วยเตรียมพร้อมสินค้าให้ตรงต่อความต้องการของครัวเรือนคนเดียว

บริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคมักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับการคาดการณ์ความต้องการของผู้บริโภคเนื่องจากซัพพลายเชนที่ซับซ้อน นอกจากนี้ผู้ผลิตยังต้องคาดการณ์ถึงความชอบและความต้องการของลูกค้า เพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน และยังต้องคำนึงถึงการจัดการซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มของครัวเรือนคนเดียวที่เพิ่มขึ้นและพฤติกรรมการซื้อสินค้าขนาดเล็กที่เปลี่ยนไป ตั้งแต่ออมนิชาแนล (Omnichannel) ระดับโลกจนถึงผู้ผลิตระดับท้องถิ่น ซึ่งทุกส่วนในภาคการค้าปลีกและสินค้าอุปโภคบริโภค ต้องอาศัยการคาดการณ์ความต้องการของผู้บริโภค และข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการสินค้าในคลังสินค้า นอกจากนี้ พวกเขายังต้องใช้การวิเคราะห์ทางสถิติที่ซับซ้อน ที่พิจารณาจากตัวแปรที่หลากหลายเพื่อให้มั่นใจว่า การคาดการณ์ดังกล่าวถูกต้องและเหมาะสม

นาย ยุคกะ อุสโคเน็น รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์ รีเล็กซ์ โซลูชันส์ กล่าวว่า “การคาดการณ์ความต้องการซัพพลายเชนสามารถช่วยบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มของผู้บริโภค รวมถึงช่วยในการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดในการปรับปรุงสินค้าคงคลังให้สอดรับกับความต้องการที่เปลี่ยนไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และส่งมอบสินค้าสู่ผู้บริโภค โซลูชันนี้จะช่วยให้พวกเขาตัดสินใจได้ดีขึ้น มีต้นทุนที่ลดลง และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้”

ประโยชน์บางประการที่สำคัญของการคาดการณ์ความต้องการในซัพพลายเชนมีดังนี้

  1. ยอดขายเพิ่มขึ้น มีสินค้าเพียงพอกับความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้น
  2. ลดความเน่าเสียของสินค้า การจัดสรรคลังสินค้าที่แม่นยำ ช่วยลดโอกาสในการเน่าเสียของสินค้าได้
  3. เพิ่มประสิทธิภาพของการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง ลดความต้องการของสินค้าคงคลังขั้นต่ำ และช่วยปรับปรุงการหมุนเวียนสินค้าให้  ดียิ่งขึ้น
  4. อัตรากำไรที่ดีขึ้น ช่วยในการวางแผนล่วงหน้าในการปรับปรุงประสิทธิภาพ ของการทำโปรโมชัน ส่งผลให้ธุรกิจมีอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้น
  5. ปรับปรุงสมรรถภาพในการผลิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ความชัดเจนในการกระบวนการผลิตจะช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพและการจัดการกับอุปสรรคที่เป็นคอขวด
  6. การลดต้นทุนบุคลากร การปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตล่วงหน้าโดยอ้างอิงการคาดการณ์ มีผลโดยตรงต่อการลดต้นทุนด้านบุคลากร

การตรวจสอบและปรับเปลี่ยนการคาดการณ์อย่างต่อเนื่อง ตามข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ เป็นสิ่งสำคัญในการติดตามตลาดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นอกจากนี้ การทำความเข้าใจการจัดการอายุของผลิตภัณฑ์ก็เป็นสิ่งสำคัญในการคาดการณ์ความผันผวนของความต้องการรวมถึงอายุของผลิตภัณฑ์ โดยทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลให้การคาดการณ์ซัพพลายเชนมีบทบาทสำคัญ การคาดการณ์ความต้องการสามารถสร้างได้ในทุกระดับโดยปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับขอบเขตการวางแผนและวัตถุประสงค์ทางธุรกิจที่แตกต่างกัน เช่น รายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน และรายชั่วโมง ทั้งนี้ความละเอียดของข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับสินค้าที่มีอายุการเก็บรักษาที่สั้น เช่น สินค้าที่เน่าเสียง่าย ซึ่งการคาดการณ์ระหว่างวัน ในสถานที่ผลิตสินค้าสามารถช่วยป้องกันสินค้าจากการเน่าเสียได้

สำหรับบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภค การคาดการณ์โดยละเอียด ที่ช่วยให้สามารถสร้างแบบจำลองของผลกระทบต่อความต้องการของผู้บริโภค และการใช้ข้อมูลประวัติการขายและการส่งเสริมการขาย ในการคาดการณ์ความต้องการ สามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถกำหนดรูปแบบและแนวโน้มได้ รวมถึงทำให้สามารถคาดการณ์ความต้องการในอนาคตได้แม่นยำยิ่งขึ้น ซึ่งแนวทางนี้ช่วยให้ธุรกิจสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ เช่น รายการสินค้าที่ไม่มีในสต๊อกหรือสินค้าคงคลังส่วนเกินโดยจัดการความเสี่ยงในเชิงรุกและปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญคือการตัดสินใจเชิงรุก และการดำเนินมาตราการยืดหยุ่น เพื่อจัดการกับความเสี่ยงที่เป็นผลมาจากแนวโน้มของตลาด และการที่ให้ซัพพลายเออร์ได้ความโปร่งใสของแบบจำลองการคาดการณ์และการแบ่งปันข้อมูลระหว่างผู้ค้าปลีกและบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคมีบทบาทสำคัญในการสร้างความไว้วางใจและประสิทธิภาพในซัพพลายเชน

“การวางแผนการทำงานร่วมกันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในซัพพลายเชน มีความสำคัญเท่ากับกับการคาดการณ์ที่แม่นยำ ด้วยการให้ซัพพลายเออร์ ผู้จัดจำหน่าย และผู้ค้าปลีกมีส่วนร่วมในกระบวนการนี้ บริษัทต่างๆสามารถรวบรวมข้อมูลเชิงลึก และมั่นใจในความสอดคล้องระหว่างกำลังการผลิตและความต้องการของตลาด ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งสำคัญในการตอบรับความคาดหวังของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป  ด้วยการใช้ข้อปฏิบัติด้านซัพพลายเชนที่สมบูรณ์ บริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า ขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยืดหยุ่น และรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว” ยุคกะ กล่าว