การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ลงนามในสัญญาความร่วมมือกับ บมจ. ร็อคเทค โกลบอล (ROCTEC) สำหรับโครงการติดตั้งระบบเครือข่ายโทรคมนาคมร่วมกับพันธมิตรในกลุ่มกิจการร่วมค้า บมจ. สกาย ไอซีที และบริษัท ยูไนเต็ด เทเลคอม เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ROCTEC ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโซลูชันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปีในด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม และมีผลงานในระบบ ICT สำหรับการรถไฟในประเทศฮ่องกง จะร่วมมือกับพันธมิตรในกลุ่มกิจการร่วมค้าในการออกแบบและติดตั้งเครือข่ายไฟเบอร์ออปติกความเร็วสูง (High-speed fibre optic) ทั่วระบบรางของ รฟท.
โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อยกระดับประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยของระบบรถไฟ
การดำเนินงาน การบริหารจัดการ และการให้บริการแก่ผู้โดยสารพร้อมทั้งวางรากฐานสำหรับการพัฒนาและความร่วมมือระยะยาวในอนาคต
นายเว่ย แซม แลม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ร็อคเทค โกลบอล (“ROCTEC”) เปิดเผยว่า โครงการนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมของการรถไฟแห่งประเทศไทยให้ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร เสริมความสามารถในการควบคุมขบวนรถไฟ และลดต้นทุนในการดำเนินงาน
“พวกเรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบรางดิจิทัลของประเทศไทย โครงสร้างพื้นฐานใหม่นี้จะช่วยให้ รฟท. ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รองรับการขยายเครือข่ายในอนาคตและสามารถเชื่อมต่อกับระบบรถไฟ ความ เร็วสูงได้อย่างไร้รอยต่อ โครงการนี้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระดับประเทศและจะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ” โดยโครงการนี้มีกำหนดแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 2 ปี
โครงการติดตั้งระบบเครือข่ายโทรคมนาคมมีวัตถุประสงค์ในการบูรณาการระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานระบบรางอัจฉริยะใน 2 ส่วนหลัก ได้แก่
ส่วนที่หนึ่ง การก่อสร้างโครงข่ายหลักของระบบโทรคมนาคม (Telecommunications
Backbone) ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ส่งสัญญาณ เช่น ระบบมัลติเพล็กซ์แบบความ ยาวคลื่นหนาแน่น (Dense Wavelength Division Multiplexing: DWDM), เครือข่าย IP/MPLS, ระบบ IP-Backbone, ระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่าย IP (IP Telephony), ระบบโทรศัพท์ควบคุมขบวนรถไฟ และการติดตั้งสายเคเบิลใยแก้วนำแสง
ส่วนที่สอง มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้โดยมีการติดตั้งสายเคเบิลใยแก้วนำแสงประมาณ 3,000 กิโลเมตร ครอบคลุมเส้นทางหลักของ รฟท. รวมถึงอาคารและสำนักงานต่าง ๆ พร้อมด้วยระบบ DWDM เพื่อเพิ่มแบนด์วิธและยกระดับประสิทธิภาพการสื่อสาร
ขอบเขตของโครงการยังครอบคลุมการติดตั้งระบบ IP Backbone และระบบ Wi-Fi
เพื่อรองรับการสื่อสารโทรศัพท์ควบคุมขบวนรถไฟและกล้องวงจรปิด (CCTV), ระบบ โทรศัพท์ผ่าน VoIP และ IP เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร และโครงสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่งเพื่อปกป้องข้อมูลและลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์
นอกจากนี้ จะมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operations Centre) เพื่อการตรวจสอบระบบแบบรวมศูนย์ และบริหารจัดการระบบอย่างมีประสิทธิภาพ