สัปดาห์โรคงูสวัด (26 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม 2567) บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด (GSK) ร่วมกับภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เปิดตัวแคมเปญสร้างสรรค์ “งูสวัดสกัดได้…งูไม่สวัสดี” รณรงค์สร้างความตระหนักรู้เรื่องโรคงูสวัด โดยครีเอทภาพคาแรคเตอร์การ์ตูนของแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโรคติดเชื้อ เวชบำบัดวิกฤต และวัคซีนสำหรับผู้ใหญ่จากองค์กรภาคีชั้นนำ ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เผยแพร่ผ่าน LINE OA: @GenYoungActive ตลอดสัปดาห์ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์กลุ่ม Gen ยัง Active หรือผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปที่ชื่นชอบการส่งภาพผ่านไลน์ ได้ส่งต่อความห่วงใยและวิธีป้องกัน
ผศ. นพ.กมล อุดล หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรึกษาโครงการ Gen ยัง Active 50+ กล่าวว่า ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อรับมือสังคมสูงวัยในประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกับ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด (GSK) เปิดตัวแคมเปญ “งูสวัดสกัดได้…งูไม่สวัสดี” ภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาพเชิงป้องกัน “Gen ยัง Active 50+” เนื่องในสัปดาห์โรคงูสวัด ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม 2567 เพื่อสร้างความตระหนักถึงการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคงูสวัดและการดูแลตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคงูสวัด ซึ่งเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
แคมเปญ “งูสวัดสกัดได้…งูไม่สวัสดี” นำภาพและคำกล่าวของแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโรคติดเชื้อ เวชบำบัดวิกฤต และวัคซีนสำหรับผู้ใหญ่ 6 ท่าน เกี่ยวกับโรคงูสวัดและวิธีป้องกัน มาสร้างสรรค์เป็นคอลเลกชันชุดภาพการ์ตูน “สวัสดีจันทร์- ศุกร์” ผ่านลายเส้นของ illustration รุ่นใหม่ SIRI หรือ สิรินาฏ สายประสาท ที่ทันสมัยและมีสีสันสดใส ส่งต่อความห่วงใยจากรุ่น Caregiver ถึง Gen ยัง’ Active สื่อสารบนแพลตฟอร์ม LINE OA: @GenYoungActive และดาวน์โหลดชุดภาพการ์ตูนในเว็บไซต์ www.GenYoungActive.com
สำหรับคอลเลกชันชุดภาพการ์ตูน “งูสวัดสกัดได้…งูไม่สวัสดี” ได้รับเกียรติจากบุคลากรทางการแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านโรคติดเชื้อ เวชบำบัดวิกฤต และวัคซีนสำหรับผู้ใหญ่ทั้งหมด 6 ท่าน ประกอบด้วย
- นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ
- นพ.วินัย รัตนสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
- นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยหนัก และผู้สูงอายุ
- ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล อุปนายก สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวัฒนธรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
- นพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ รองผู้อำนวยการ สถาบันบำราศนราดูร
พร้อมทั้งเชิญชวนให้กลุ่ม Gen ยัง Active ส่งต่อความห่วงใยให้ครอบครัวและเพื่อน อาทิ “สวัสดีวันอังคาร ใจเบิกบาน กายแข็งแรง วัย 50+ ภูมิคุ้มกันลด เชื้อไวรัสที่ซ่อนจะออกมาเป็นงูสวัด” และ “สวัสดีวันพฤหัส ลุกมาขยับ ปรับนิด ลดเสี่ยงโรค เมื่อหายจากงูสวัด ยังปวดปลายประสาทอีกหลายเดือน”
พญ.บุษกร มหรรฆานุเคราะห์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ GSK กล่าวว่า เนื่องในสัปดาห์โรคงูสวัด ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคมนี้ GSK มีความมุ่งมั่นในการค้นคว้าวิจัยยาและวัคซีนนวัตกรรมเพื่อให้สามารถก้าวนำการป้องกันโรคภัยต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ภายใต้แนวคิด “Ahead Together” ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคงูสวัด และการป้องกันโรค เนื่องจากโรคงูสวัดเป็นโรคที่ผู้คนไม่ค่อยตระหนักถึงความอันตราย แต่สร้างความเจ็บปวดทรมานและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก จากผลการศึกษาพบว่า คนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป และเคยเป็นโรคอีสุกอีใส มากกว่า 90% จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคงูสวัด
“ผู้สูงอายุที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส เมื่อร่างกายอ่อนแอหรือภูมิคุ้มกันตกลงจากอายุที่เพิ่มขึ้น จะทำให้เชื้อไวรัสที่เคยทำให้เกิดโรคอีสุกอีใสกลับมาก่อให้เกิดเป็นโรคงูสวัด ซึ่งนอกจากจะมีอาการปวดแสบร้อนบริเวณผิวหนัง หรือปวดแบบเหมือนมีเข็มมาทิ่มแทง มีอาการปวดเจ็บแบบแปร๊บ ๆ ตามแนวเส้นประสาทหลังจากที่ผื่นหรือตุ่มน้ำของงูสวัดหายไปแล้ว1,2 โรคงูสวัดยังส่งผลต่อระบบประสาทและก่อให้เกิดมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอื่น ๆ ตามมา โดยผู้สูงอายุที่เป็นโรคงูสวัดจะมีอาการปวดเรื้อรังยาวเป็นเดือน หรือบางคนอาจจะพัฒนาเป็น Stoke3 วิธีการป้องกันโรคงูสวัด คือ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และรับการฉีดวัคซีนป้องกันตามที่แพทย์แนะนำ2 จะทำให้มีสุขภาพที่ดีและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีอิสระ” พญ.บุษกร กล่าว
สามารถติดตามรายละเอียดแคมเปญ “งูสวัดสกัดได้…งูไม่สวัสดี” และดาวน์โหลดชุดภาพการ์ตูนในเว็บไซต์ www.GenYoungActive.com และ LINE OA : @genyoungactive
#งูสวัดสกัดได้ #GenยังActive #GenYoungActive
เอกสารอ้างอิง
- Kilgore PE, et al. J Med Virol. 2003;70(suppl 1):S111-S8.
- Harpaz R, et al. MMWR Recomm Rep 2008;57:1-30
- Cohen Jl et al. N Engl J Med 2013:369:255-263