กลุ่ม “แซง-โกแบ็ง” ประกาศเป้าหมายสู่การเป็นองค์กร Carbon Neutrality ในปี 2593 พร้อมพาเหรดทีมผู้บริหารจัดเสวนา “ยกระดับความท้าทายเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในอุตสาหกรรมการก่อสร้างของประเทศไทย” ตอกย้ำจุดยืนการดำเนินธุรกิจควบคู่การรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ ผู้ร่วมการเสวนาประกอบด้วย นายเบอร์นัว บาร์แซง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่ม แซง-โกแบ็ง, ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย, ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี นักวิจัยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายเอกสิทธิ์ ลัคนานิธิพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ และพัฒนาธุรกิจคาร์บอนต่ำ กลุ่มบริษัท ดาว (ประเทศไทย) จำกัด, นายเสถียร เลี้ยววาริณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายความยั่งยืน บมจ. เอสซีบี เอกซ์, นายปาทรีซ บาร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บวิค-ไทย จำกัด และนายเฑียร จึงวิรุฬโชตินันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท คอรัล ไลฟ์ จำกัด ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้างของประเทศไทยควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอนของกลุ่มแซง-โกแบ็ง และระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อเป็นแนวทางในการร่วมกันสร้าง และพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายในการก้าวสู่การเป็นผู้นำโซลูชั่นการก่อสร้างในรูปแบบ Light & Sustainable Construction
เป้าหมายของ แซง-โกแบ็ง
นายเบอร์นัว บาร์แซง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่ม แซง-โกแบ็ง ได้กล่าวในช่วงต้นของการเสวนาครั้งนี้ว่า “กลุ่ม แซง-โกแบ็ง ตั้งเป้าที่จะดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมในระดับสากล โดยนอกเหนือจากการมุ่งมั่นพัฒนาโซลูชั่นแล้ว ยังคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน ซึ่งการมุ่งเน้นในเรื่องความยั่งยืนก็เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่สำคัญของกลุ่มบริษัทแซง-โกแบ็งมาโดยตลอด เพื่อทำให้โลกของเราเป็นบ้านที่น่าอยู่ยิ่งขึ้นกว่าเดิมตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มบริษัทที่ว่า “Making the world a better home” ตั้งแต่การเลือกใช้วัสดุ กระบวนการผลิต ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน การประเมินวัฏจักรชีวิต (LCA) และการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งได้มีการกำหนดเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา 10 ปีที่ผ่านมา โดยได้กำหนดวัตถุประสงค์ทางด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงเวลาต่างๆ ให้สอดคล้องกับกฎบัตรด้านสิ่งแวดล้อม EHS โดยมีเป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนสู่องค์กรที่เป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593
ดังนั้น กลุ่มบริษัทแซง-โกแบ็ง จึงได้ส่งเสริมบทบาทด้านการป้องกัน และบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน นักลงทุน ผู้กำหนดนโยบาย ลูกค้า ซัพพลายเออร์ องค์กรภาคประชาสังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ อีกด้วย
ขณะที่ภาพรวมของอุตสาหกรรมก่อสร้างในปี 2567 กลุ่มบริษัทแซง-โกแบ็งมองว่าเป็นปีที่ท้าทายทั้งต้นทุนสินค้า, งบก่อสร้าง, ค่าแรงที่สูงขึ้น และการขาดแคลนแรงงาน รวมถึงการแข่งขันด้านราคาที่สูงมาก ทำให้กลุ่มบริษัทแซง-โกแบ็งมองเห็นโอกาสในการใช้นวัตกรรมที่มีความชำนาญมาสร้างความแตกต่างเพื่อนำเสนอให้กับลูกค้า ด้วยการมุ่งเน้นพัฒนานวัตกรรม, ระบบและโซลูชั่นให้เป็น Practical Innovation (นวัตกรรมที่ใช้ปฏิบัติได้จริง) โดยโซลูชั่นเหล่านี้จะเน้นการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากการใช้งานจริงจากการก่อสร้างเพื่อการอยู่อาศัยที่ดียิ่งขึ้น การลดการใช้พลังงาน และการลดต้นทุนด้านการซ่อมแซมในระยะยาว รวมถึงการให้คำปรึกษาจากทีมงานเทคนิคที่เชี่ยวชาญ ทำให้เกิดประสิทธิภาพ และคุณภาพการก่อสร้างที่ดียิ่งขึ้น สร้างความพึงพอใจให้ผู้ใช้ และผู้อยู่อาศัยมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสามารถนำมาต่อยอดธุรกิจขายปลีกและขายส่ง รวมถึงทำให้สินค้าเป็นที่รู้จัก และยอมรับในคุณภาพที่มากขึ้น ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มในห่วงโซ่อุปทานทั้งระบบ เพื่อส่งต่อคุณภาพชีวิตที่ดีสู่ผู้อยู่อาศัย และประโยชน์สูงสุดกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด
ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทแซง-โกแบ็ง ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ปารีส ลอนดอน แฟรงก์เฟิร์ต ซูริก บรัสเซลส์ และอัมสเตอร์ดัม โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มธุรกิจหลักๆ คือ
1.กลุ่มวัสดุก่อสร้าง (Construction Materials) ประกอบด้วย 1) โซลูชั่นงานฝ้าเพดาน และผนังเบายิปซัม ยิปรอค หรือ Gyproc ซึ่งเป็นโรงงานผลิตภัณฑ์ยิปซัมแห่งแรกในประเทศไทย 2) เวเบอร์ (Weber) กาวซีเมนต์ ยาแนว ระบบกันซึม และเคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์มอร์ตาร์สำหรับงานก่อสร้าง และงานซ่อมแซม ซึ่งมีทีมพัฒนา R&D ทั้งในประเทศไทย และทั่วโลก 3) โซลูชั่นฉนวนกันร้อน และกันเสียง อิโซแวร์ หรือ Isover และท่อแอร์แบบมีฉนวนในตัว Climaver 4) แซง-โกแบ็ง กล๊าส (Saint-Gobain Glass) กระจกแผ่นเรียบคุณภาพสูงสำหรับบ้าน และอาคาร 5) แพม (PAM) โซลูชั่นท่อส่งก๊าซ ท่อน้ำแบบครบวงจร
2. กลุ่มอุตสาหกรรม (Industry) ประกอบด้วย ฟอร์มูล่า (Formula) ปูนปลาสเตอร์อุตสาหกรรมคุณภาพสูง, นอร์ตั้น แอบราซีฟส์ (Norton Abrasives) ผลิตภัณฑ์ใบตัด เจียร ตัด ขัด เจาะ คุณภาพสูง, พีพีแอล (PPL) ผลิตภัณฑ์โพลิเมอร์ประสิทธิภาพสูง
3.กลุ่ม Mobility ผลิตภัณฑ์กระจกรถยนต์ ซีคิวริท (Sekurit) สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์
“ดาว” คิดทั้งระบบเพื่อความยั่งยืน
ด้าน นายเอกสิทธิ์ ลุคนานิธิพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจและพัฒนาธุรกิจคาร์บอนต่ำ กลุ่มบริษัท ดาว (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ดาวฯ เป็นบริษัทฯ ที่ดำเนินธุรกิจด้านความยั่งยืนของวัตถุดิบ ซึ่งเรานิยามตนเองว่า เราเป็น Materials Science for a Better Future โดยผลิตวัตถุดิบและสนับสนุนด้านความยั่งยืน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ยั่งยืน ซึ่งโฟกัสในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์ ซึ่งบริษัทผลิตผลิตภัณฑ์ทั้งด้านเฮลธ์แคร์ และความงาม ทั้งนี้ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม และมุ่งเป้ากับการเดินหน้าสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน ดาว จึงมุ่งมั่นที่จะนำของเสีย (Waste) กลับมาใช้ใหม่ โดยเฉพาะขยะพลาสติก เพื่อนำของกลับมาเข้ากระบวนการ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้เป็นโปรดักท์ใหม่ รวมทั้งพยายามออกแบบให้โปรดักท์ของเราเป็น Mono Material ซึ่งเป็นโซลูชั่นที่สามารถตอบโจทย์ทั้งด้านการผลิต การใช้งาน รวมถึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้”
จากวิจัยสู่โครงการนำร่อง
ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี นักวิจัย สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สถาบันดังกล่าวเป็นหน่วยงานใหม่ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นมาไม่กี่ปีดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับความเสี่ยงและวิกฤติจากสภาพภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการจัดการขยะที่เป็นของแข็ง และการเชื่อมโยงเศรษฐกิจหมุนเวียน หากพูดในไทยก็จะรวมไปถึงการประหยัดพลังงานด้วย และออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน นอกจากนี้ ทางสถาบันฯ ได้ริเริ่โครงการบริหารจัดการขยะ ด้วยโครงการนำรองเพื่อลดขยะเใหเป็นศูนย์ เพื่อสร้างการตระหนักรู้ให้กับนิสิต และเจ้าห้าที่ของมหาวิทยาลัยและเเพื่อเป็นโครงการตนแบบที่ะกลายเป็นวัฒนธรรมที่เผยแพร่สู่สังคมภายนอก และประชาชนทั่วไป ให้เห็นถึงความสำคัญของการนำขยะมาใช้ประโยชน์ ขณะเดียวกัน ก็ได้ทำงานร่วมกับ กรุงเทพมหานคร และทำเป็นโครงการนำร่องในเขตหนองแขม ปทุมวัน และกทม. ซึ่งทำให้เกิดเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียนส่งผลในเชิงบวก และได้เห็นว่า ระบบนิเวศในเศรษฐกิจหมุนเวียนนั้นมีหลายองค์กรที่ให้การสนับสนุนเป็นจำนวนมาก
SCBX โฟกัสลงทุนด้านพลังงาน, Climate Change
นายเสถียร เลี้ยววาริณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายความยั่งยืน บมจ. เอสซีบี เอกซ์ หรือ SCBX กล่าวว่า ความตกลงปารีส (Paris Agreement) เพื่อจำกัดอุณหภูมิโลกเฉลี่ยให้สูงขึ้นไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส และจะใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดเพื่อควบคุมไม่ให้เพิ่มสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เป็นข้อตกลงครั้งสำคัญที่จะชะลอการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประชาคมโลก เพื่อหยุดยั้งความหายนะของสภาพแวดล้อมที่กำลังจะมาถึง รัฐบาลและบริษัทระดับโลกได้ร่วมกันเร่งการออกนโยบายและประสานความร่วมมือเพื่อหยุดยั้งหายนะภัยให้ทันภายในปี 2050 ที่จะถึงนี้
กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ (SCBX Group) ในฐานะองค์กรขนาดใหญ่ในระดับภูมิภาคตระหนักถึงบทบาทสำคัญและความรับผิดชอบต่อสังคมและคนรุ่นใหม่ที่กำลังเติบโตขึ้นมาในโลกที่อาจจะประสบกับสภาวะสภาพแวดล้อมอันเลวร้ายกว่าเดิมมาก กลุ่มฯ มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนร่วมในการหยุดยั้งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุกรูปแบบเท่าที่จะสามารถทำได้ โดยตั้งพันธกิจด้านสิ่งแวดล้อมเป็นพันธกิจหลักในการสนับสนุนข้อตกลงโลกที่จะทำให้กลุ่มธุรกิจที่ SCBX Group ดูแลอยู่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Commitment) จากการดำเนินงานภายในปี 2573 และจากการให้สินเชื่อและการลงทุนภายในปี 2593 ตามที่ประชาคมโลกได้ตกลงใน Paris Agreement (ผ่าน 4 ยุทธศาสตร์ อ่านเพิ่มเติมที่ https://www.scb.co.th/th/about-us/news/jul-2565/scbx-net-zero.html)
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการเพื่อสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ หากจะทำให้ประสบความสำเร็จได้จำเป็นที่จะต้องใช้เงินทุนและความร่วมมือ สำหรับ SCBX ในฐานะที่เป็นสถาบันทางการเงินที่มุ่งดำเนินการทางการเงินและการลงทุน โดยมีสถานะเป็นบริษัทโฮลดิ้งคอมปานีในเครือ SCB และตั้งเป้าเดินหน้าสู่การเป็น Net Zero ในปี 2593 ซึ่งขณะนี้เราก็ได้วางกรอบการทำงาน และได้วางขอบเเขตการทำงาน 1-3 เสร็จเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งพยายามที่จะก้าวไปให้ถึงเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นในส่วนภาคส่วนด้านพลังงานก่อน นอกจากนี้ ก็จะโฟกัสทางด้านการลงทุน และให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) โดยได้ทำวิจัยว่าอะไรเป็นปัญหาด้านภูมิอากาศในอีก 5 – 10 ปีข้างหน้า รวมไปถึงภาคการเกษตรด้วย ซึ่งพยายามให้องค์กรต่างๆ มีความเป็นกลางทางคาร์บอนและ Net Zero ด้วย
บวิค-ไทย คอรัล ไลฟ์ ลดการปล่อยคาร์บอนในการก่อสร้าง
นายปาทรีซ บาร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บวิค-ไทย จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯดำเนินธุรกิจอยู่ในประเทศไทยมากว่า 20 ปี ซึ่งให้การสนับสนุนลดการปล่อยคาร์บอนมาโดยตลอด และพบว่าเป็นความท้าทายในอุตสาหกรรมการก่อสร้างเป็นอย่างมาก โดยบริษัทมุ่งให้ความสำคัญกับการใช้คอนกรีตในอุตสาหกรรมก่อสร้างว่า ทำอย่างไรจึงจะ
สามารถก่อสร้างได้ประหยัดมากขึ้น และจะนำของเสีย หรือของเหลือใช้มารีไซเคิลอย่างไร และพยายามจะลดการปล่อยคาร์บอนให้ได้มากที่สุดจากวัตถุดิบต่างๆ ทั้งนี้ แนวคิดดังกล่าวจะต้องได้รับความร่วมมือกับลูกค้าและซัพพลายเออร์ต่างๆ ด้วย เช่น ต้องคำนึงถึงที่มาของวัตถุดิบ ปริมาณของที่ใช้ ระบบโลจิสติกส์ (เช่น ใช้รถบรรทุก น้ำมันประเภทไหน ฯลฯ) เมื่อได้ผลลัพธ์ต่างๆ ก็นำมาประเมินว่ามีการปล่อยคาร์บอนมาน้อยเพียงใด โดยมีการประเมินทุก 3 เดือน, 6 เดือน และ 1 ปี ซึ่งใช้เวลานานพอสมควรเพื่อวิเคราะห์การปล่อยคาร์บอนในไซต์งาน เพื่อปรับให้เกิดความเหมาะสมมากที่สุด พร้อมจัดหมวดหมู่ซัพพลายเออร์ เพื่อดูว่าซัพพลายเออร์ใดปล่อยคาร์บอนมากที่สุด
“คิดว่าผู้กำกับดูแลมีความสำคัญ อาคารที่เกิดขึ้นหลายปี จะต้องสร้างให้เป็นอาคารที่ประหยัดพลังงาน ปล่อยคาร์บอนได้น้อยลง โดยมีการปรับปรุงอาคารที่เก่าแก่ ซึ่งในประเทศไทยมีการปล่อยคาร์บอนเป็นจำนวนมาก เทียบกับอาคารสูงถึง 300 ชั้นเลยทีเดียว”นายปาทรีซ กล่าว
นายเฑียร จึงวิรุฬโชตินันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท คอรัล ไลฟ์ จำกัด กล่าวว่า อุตสาหกรรมก่อสร้างถือว่ามีการปล่อยคาร์บอนมาก ซึ่งต้องดูวัตถุดิบที่ได้รับการรับรอง Green Label และมองไปถึงต้นกำเนิดวัตถุดิบด้วย เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างที่สำคัญ โดยเทรนด์ระดับโลกที่ตระหนักคือ การลดการเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศ โดยทุกรายตั้งเป้าเหมือนกันเพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมาย นั่นคือ การที่จะทำให้อุณหภูมิไม่สูงขึ้นไปกว่าที่สนธิสัญญาปารีสกำหนด รักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส เหนืออุณหภูมิในช่วงก่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม และพยายามจำกัดให้อุณภูมิโลกต่ำกว่านั้นประมาณ 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งหลายๆ ประเทศพยายามที่จะปรับตัว และหลายบริษัทก็ต้องเร่งดำเนินการ และอนาคตข้างหน้าจะต้องวัดว่าแต่ละบริษัทฯที่รายงานผลมานั้น ดำเนินการจริงหรือไม่ ซึ่งจะต้องมีบริษัทที่เข้าไปดำเนินการด้านนี้ เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย