- ศูนย์ปฏิบัติการ ตั้งอยู่ใจกลาง กรุงเทพมหานคร ซึ่งศูนย์แห่งนี้ นับเป็นป็นสถานที่หลัก ที่ใช้มุ่งเน้นพัฒนา ทดลอง และวิเคราะห์โซลูชันระบบขนส่งดิจิทัล (Digital Mobility) และอาณัติสัญญาน (Signaling) เพื่อยกระดับความสามารถของบริษัท ด้านการขนส่งอัจฉริยะ (smart mobility)
- ศูนย์ปฏิบัติการที่ขยายขึ้นใหม่นี้ มีพื้นที่มากกว่า 277 ตร.ม. ทำให้มีพื้นที่โดยรวมของห้องปฏิบัติงานในไทยมากกว่า 2,000 ตร.ม. ซึ่งสามารถรองรับการดำเนินงาน ได้มากกว่า 100 โครงการพร้อม ๆกัน
- นโยบายการขยายตัวเพื่อเพิ่มศักยภาพของบริษัท นำไปสู่ การเติบโตอย่างต่อเนื่องของ ศูนย์วิศวกรรมระดับโลก ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันทางบริษัทได้มีการการจ้างพนักงานรวมแล้วกว่า 1,000 คน โดยมีวิศวกรที่มีความรู้และประสบการณ์เฉพาะด้านมากกว่า 700 คน
Alstom ผู้นำระดับโลกด้านระบบขนส่งอัจฉริยะที่ยั่งยืน ได้เปิดตัวศูนย์ Digital Mobility Lab แห่งใหม่ ในกรุงเทพมหานคร เป็นการตอกย้ำถึงความเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศไทย โดยศูนย์แห่งใหม่นี้ขยายพื้นที่มากกว่า 277 ตร.ม. ทำให้มีพื้นที่สำหรับปฏิบัติงานในไทยโดยรวมมากกว่า 2,000 ตร.ม.ซึ่งสามารถรองรับการดำเนินโครงการขนานกันไป ได้มากกว่า 100 โครงการ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (รฟม.) นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ และฯพณฯท่านเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย Jean-Claude Poimboeuf ได้เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีเปิดศูนย์ปฏิบัติการ : Digital Mobility Lab ซึ่งการเข้าร่วมพิธีนี้นับเป็นความร่วมมืออันดี ระหว่างฝรั่งเศสและไทย ด้านความล้ำสมัยของเทคโนโลยีเเละนวัตกรรมขั้นสูง
ศูนย์ปฏิบัตการอันทันสมัยที่สุดแห่งนี้ เป็นการขยายพื้นที่ศูนย์ปฏิบัติการของ ศูนย์วิศวกรรมโลก ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีผู้เชี่ยวชาญมากกว่า 1,000 คน โดยมีวิศวกรที่มากไปด้วยประสบการณ์ถึง 700 คน
ศูนย์ Digital Mobility Lab แห่งใหม่นี้มีเป้าหมายที่จะบ่มเพาะบุคลากรด้านเทคโนโลยีคุณภาพสูง และพัฒนาความสามารถด้านวิศวกรรมด้านระบบอาณัติสัญญาน และ กระบวนการเชื่อมโยงประสานงานระบบคอมพิวเตอร์และแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ต่างๆเข้าด้วยกันเป็นระบบเดียว และสามารถมั่นใจว่าระบบย่อยทำงานร่วมกันเป็นระบบได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย สำหรับโครงการขนส่งระบบรางทั่วโลก ศูนย์แห่งนี้ไม่เพียงให้บริการลูกค้าในประเทศเท่านั้นแต่ยังมุ่งให้บริการลูกค้าAlstom ทั่วทุกมุมโลกทั้งในออสเตรเลีย , อียิปต์,เยอรมนี ,ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และประเทศอื่นๆ อีกมากมาย
ในระหว่างพิธีเปิดงานคุณToby Tiberghie กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกกล่าวว่า “ทั้งศูนย์ปฏิบัติการ Digital Mobility Lab แห่งใหม่และการเติบโของ ศูนย์วิศวกรรมโลก ของเราในประเทศไทย ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการยกระดับ เพื่อรองรับเทคโนโลยี สำหรับระบบนิเวศการเคลื่อนย้ายในประเทศไทย นับเป็นสิ่งที่มีนัยสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระยะยาวของ Alstom ในประเทศไทย และเรามุ่งมั่นที่จะให้บริการคนไทยอย่างตั้งใจพร้อมทั้งลงทุนเพื่อให้เกิดการเติบโตและพัฒนาความสามารถของบุคลากรในประเทศเพื่อให้บรรลุมาตรฐานความเป็นเลิศระดับโลก”
Alstom นำเสนอโซลูชันด้านระบบการขนส่งอัจฉริยะที่ยั่งยืนในประเทศไทยมากว่า 40 ปี โดยไทยเป็นประเทศหนึ่งจากทั้งสองประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เป็นที่ตั้งศูนย์ปฏิบัติการระดับโลกของบริษัทในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Alstom มีบทบาทสำคัญในการส่งมอบโครงการด้านระบบรางและการคมนาคมที่สำคัญภายในประเทศ ได้แก่ ระบบครบวงจรแบบเทิร์นคีย์ สำหรับรถไฟฟ้าโมโนเรลสายแรกของกรุงเทพฯ ระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM) แห่งแรกของกรุงเทพฯรวมถึงระบบอาณัติสัญญานขั้นสูงสำหรับเส้นทางขนส่งมวลชนในเมืองหกสายและบางส่วนในโครงข่ายทางรถไฟสายหลัก
เกี่ยวกับ Alstom
Alstom เป็นผู้นำสังคมปลอดคาร์บอน สู่อนาคต โดยลดการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทางเราพัฒนาและวางแผนการตลาดโซลูชันระบบขนส่งซึ่งเป็นราก ฐานอันยั่งยืนสำหรับอนาคตของการคมนาคมขนส่งตั้งแต่รถไฟความเร็วสูง รถไฟใต้ดินโมโนเรลรถราง ไปจนถึงระบบการบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จ บริการโครงสร้างพื้นฐานระบบอาณัติสัญญาณและระบบการขนส่งแบบดิจิทัล Alstom มีกลุ่มผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าได้เลือกสรรมากที่สุดในอุตสาหกรรม อีกทั้งยังพาหนะที่ให้บริการเชิงพาณิชย์ถึง 1.5 แสนคันทั่วโลกได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญอันเป็นที่ประจักษ์ของบริษัทในด้านการบริหารจัดการโครงการนวัตกรรมการออกแบบและเทคโนโลยี ในปี 2564 บริษัทยังได้รับการจัดอันดับในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์โลกและยุโรปเป็นครั้งที่11 ติดต่อกัน
Alstom มีสำนักงานใหญ่ในประเทศฝรั่งเศสและสำนักงานอื่นๆ ในอีก70 ประเทศทั่วโลก มีพนักงานมากกว่า74,000 คน กลุ่มบริษัทมีรายได้15.5 พันล้านยูโรในปีงบการเงินณวันที่31 มีนาคม พ.ศ. 2565
ท่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากwww.alstom.com