aCommerce ผู้นำด้านการให้บริการแพลตฟอร์มและโซลูชั่นเพื่อธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยรายงานข้อมูลเศรษฐกิจเชิงลึก BrandIQ Flash Insights ระบุ 10 หมวดธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดหลังเกิดวิกฤติการณ์โควิด-19 โดยบริษัทฯ ได้เปิดตัวแพลตฟอร์ม BrandIQ เมื่อปี ค.ศ. 2018 เพื่อช่วยให้แบรนด์ต่าง ๆ มีความเข้าใจถึงแนวโน้มของผู้ซื้อสินค้าบนระบบออนไลน์ และใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเพิ่มยอดขายในธุรกิจอีคอมเมิร์ซของตนเอง
แพลตฟอร์ม BrandIQ ถือเป็นโซลูชั่นแรกในระบบ SaaS (Software as a Service) เพื่อช่วยเหลือผู้ค้าปลีกและแบรนด์ต่าง ๆ ในการผนวกรวมข้อมูลผลิตภัณฑ์และช่องทางข่าวสารต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และมองเห็นภาพรวมโดยละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้ขาย สัดส่วนสินค้าของแบรนด์บนชั้นวางสินค้า สัดส่วนของหมวดหมู่สินค้า และการเปรียบเทียบส่วนแบ่งทางการตลาด ซึ่งรายงาน Flash Insights ของบริษัทฯ จะนำเสนอภาพรวมทางธุรกิจที่ฉับไวและบอกถึงแนวโน้มต่าง ๆ ที่กำลังขยายตัวในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซของเมืองไทย
เนื่องด้วยข้อจำกัดและมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้คนไทยหลีกเลี่ยงการเดินทางไปจับจ่ายในร้านค้าปกติ โดยพักอยู่ที่บ้านและสั่งซื้อสินค้าจากร้านค้าและผู้ค้าปลีกเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง โดย “ชีวิตวิถีใหม่” นี้กระตุ้นให้แบรนด์สินค้าต่าง ๆ เริ่มลงทุนในตลาดออนไลน์เพื่อให้ลูกค้ามาเยือนร้านค้ามากขึ้น ซึ่งรายงาน Flash Insights ของ BrandIQ ยืนยันว่า
กลุ่มบัตรกำนัลดิจิทัล (Digital Vouchers) ในเมืองไทยมีอัตราการเติบโตถึง +1,237% นับตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากเพื่อเพิ่มยอดขาย โปรแกรมบัตรกำนัลยังมอบทางออกให้แก่แบรนด์สินค้าในการใช้ประโยชน์สูงสุดจากสินค้าคงคลังท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 และอีกหนึ่งกระแสที่มาแรงในช่วงการแพร่ระบาดก็คือการปรุงอาหารเองที่บ้าน เนื่องจากโคโรนาไวรัสที่แพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องก่อให้เกิดการหยุดชะงักของหลายสิ่ง คนไทยจำนวนมากจึงต้องทำกิจวัตรเดิม ๆ อยู่ภายในบ้าน รวมถึงการปรุงอาหารรับประทานเอง ซึ่งก่อให้เกิดอุปสงค์ต่อตู้เย็นและอุปกรณ์ทำอาหารเพิ่มมากขึ้น หมวดสินค้าของชำในตลาดออนไลน์ที่เป็นผลิตภัณฑ์นมและอาหารแช่เย็นเติบโตขึ้นถึง 2,637% ซึ่งรวมถึงสินค้าอาหารแห้งและอาหารบรรจุสำเร็จซึ่งโตขึ้น 389% ตลอดจนสินค้าธัญพืชอาหารเช้าและผลิตภัณฑ์ทาขนมปังที่เติบโต 271%
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้ไม่ได้มีสาเหตุจากผู้บริโภคซึ่งทำงานที่บ้านจำเป็นต้องรับประทานอาหารเช้าและกาแฟที่บ้านเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นเพราะพวกเขายังรู้สึกไม่ปลอดภัยในการไปร้านอาหารด้วย
รายงานของปีที่ผ่านมาระบุถึงการเติบโตที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วของหมวดสินค้าผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและเฟอร์นิเจอร์ และด้วยความที่ยังมีผู้คนอีกเป็นจำนวนมากที่ยังคงทำงานที่บ้านอยู่เช่นเดิมในปีนี้ ทำให้แนวโน้มดังกล่าวยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง การแพร่ระบาดยังกระตุ้นให้เกิดความจำเป็นในการสร้างพื้นที่พักอาศัยที่สะดวกสบายและใช้ทำงานได้ในช่วงการกักตัว ซึ่งส่งผลถึงการเพิ่มอุปสงค์ต่อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพราะผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความสุขสบายและสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง ท้ายสุด รายงานฉบับนี้ยังชี้ให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของอุปสงค์ต่อหมวดสินค้างานศิลปะและงานฝีมือสำหรับเด็ก ซึ่งหมวดนี้ยังครอบคลุมถึงกิจกรรมและผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้เด็ก ๆ สามารถเรียนรู้ในขณะที่พวกเขาเรียนหนังสืออยู่ที่บ้าน
BrandIQ อธิบายว่าอัตราการเติบโตของหมวดสินค้าเหล่านี้ในภาพรวม ส่วนหนึ่งเกิดจากข้อจำกัดในการทำกิจกรรมนอกบ้าน และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากความจำเป็นของผู้ค้าปลีกที่ต้องการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของตนเอง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือธุรกิจต่าง ๆ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคซึ่งกระตุ้นทุกสิ่งให้เกิดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้บริษัทต่าง ๆ จำเป็นต้องดำเนินการแปรรูปองค์กรสู่ระบบดิจิทัลและธุรกิจแบบอีคอมเมิร์ซ
“ข้อมูลและการวิเคราะห์โดยละเอียดต่อธุรกิจอีคอมเมิร์ซถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับแบรนด์ต่าง ๆ แต่การเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์ทั้งในข้อมูลยอดขาย โปรโมชั่น และคำสั่งซื้อสินค้าของคู่แข่งของคุณต่างหากที่ถือเป็นตัวพลิกสถานการณ์อย่างแท้จริง” นายพอล ศรีวรกุล Group CEO of aCommerce. กล่าว “การนำเสนอข้อมูลแบบครบวงจรให้แก่แบรนด์ต่าง ๆ ถือว่ามีความสำคัญในการช่วยให้พวกเขาดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติก็ยังช่วยลดต้นทุนและเพิ่มยอดขายได้อย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น เมื่อแบรนด์สินค้าหรือผลิตภัณฑ์หนึ่งเริ่มจำหน่ายสินค้าได้ดี ระบบของเราจะแจ้งเตือนไปยังฝ่ายการตลาดให้เพิ่มงบประมาณการโฆษณา หลังจากนั้นจะกระตุ้นฝ่ายบริการลูกค้าให้เพิ่มระดับการสนับสนุนการปฏิบัติงาน แล้วจะติดต่อไปยังผู้ผลิตหรือผู้จัดหาสินค้าเพื่อทำการสั่งซื้อล็อตใหญ่และแจ้งเตือนไปยังฝ่ายขนส่งสินค้าให้เตรียมพร้อมสำหรับรายการสั่งซื้อสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น”
วิสัยทัศน์ของ aCommerce คือการสนับสนุนให้แบรนด์และผู้ค้าปลีกสามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่และดำเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างประสบความสำเร็จ บริษัทฯ ยังเพิ่มการทำงานกับแพลตฟอร์มต่างๆเพื่อการดำเนินงานระดับภูมิภาค อาทิ Shopee และ Lazada รวมถึงตลาดออนไลน์ในประเทศต่าง ๆ อย่าง Tokopedia ของอินโดนีเซีย, Qoo10 ของสิงคโปร์ และ Sendo กับ Tiki ของเวียดนามในเร็ว ๆ นี้