Innovation at Speed เมื่อเจ้าใหญ่ลงเล่น innovation ทำอย่างไรถึงวิ่งได้เร็ว06 Sep 2022

ใน Techsauce Global Summit 2022 ที่ท่วมท้นด้วยเทคโนโลยีใหม่จาก startup ที่หลากหลายทั้งจากในและต่างประเทศ เรายังเห็นได้ว่าในปีนี้ มีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง SCG ที่ได้มาเปิดตัวนวัตกรรม (innovation) ที่มีการนำมาพัฒนาและประยุกษ์ใช้อย่างหลากหลายเป็นครั้งแรก จนหลายคนแอบสงสัยว่า บริษัทใหญ่ขนาดนี้มีเทคนิคอะไรในการพัฒนาโครงการและผลักดันเทคโนโลยีให้ทันการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของตลาดและอุตสาหกรรม

ศรัญญา อรุณศิริโชค Senior Digital Business Incubation แห่ง Digital Office  จาก SCG (WEDO) ก็ได้มาแชร์เทคนิคของการสร้าง Innovation at Speed ให้เราฟังกัน ในงาน Techsauce Global Summit 2022 นี้ด้วย โดยมีประเด็นหลักคือ การขยับตัวขององค์กรใหญ่มีหลายปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง ทาง WEDO มี best practices อะไรบ้างที่นำมาใช้ได้เพื่อให้องค์กรของสามารถเร่งความเร็วและสร้างนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็วทันการเปลี่ยนแปลงของตลาด และเป็น innovation ยั่งยืนและมีคุณค่าต่อบริษัท โดยมีเทคนิคที 5 ขั้นตอน ดังนี้

  1. Speed of Business Focus
  2. Speed of Solution
  3. Speed of Implementation
  4. Speed of Product-Market Fit
  5. Speed of “Going Together”

ทั้งนี้ นอกจากการมาแชร์ความรู้และประสบการณ์แล้ว ทางคุณเบลล์ยังต่อด้วยว่า ทางทีม WEDO ยินดีให้คำปรึกษาสำหรับองค์กร ที่สนใจในกระบวนการนี้  ทั้งในด้านการทำ incubation หรือการพัฒนานวัตกรรม ( innovation) ก็สามารถติดต่อ WEDO ได้เลย

Speed of Business Focus

สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ หรือ corporate โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการหลักอยู่แล้ว ที่เรียกได้ว่าเป็น “cash cow” หรือสินค้าทำกำไร ของบริษัท ซึ่งการที่บริษัทเหล่านี้จะทำนวัตกรรมนั่นหมายความว่า ทรัพยากร ต่างๆ ทั้งด้านบุคลากรและการลงทุนจำเป็นจะต้องถูกดึงมาเพื่อแบ่งให้กับการสร้างผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่นี้ ซึ่งในการวางแผนธุรกิจและตัดสินใจนั้น เราจึงจำเป็นต้องเห็นภาพใหญ่ขององค์กรว่าตอนนี้สัดส่วนของการลงทุนในองค์กรตอบสนองต่อตัวธุรกิจในสถานการณ์นั้นๆ หรือไม่

ในขั้นตอนนี้ ทาง WEDO จึงนำ Innovation Portfolio มาใช้เป็นเครื่องมือในการให้ทีมและองค์กรเห็นภาพใหญ่ว่าตอนนี้เรามีโครงการอะไรบ้าง สัดส่วนของแต่ละประเภทโครงการอยู่ที่เท่าไหร่และหารือพูดคุยว่าเหมาะสมกับสถานการณ์หรือไม่เพื่อช่วยตัดสินใจได้ว่าองค์กรเองควรมุ่งหน้าและโฟกัสไปในด้านไหน เช่น ในสถานการณ์ ที่มีคู่แข่งใหม่ๆ เข้ามาในตลาดเป็นอย่างมาก เราจึงควรเริ่มมองหาลูกค้ากลุ่มใหม่ หรือโซลูชั่นใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของเราเอง และลดความเสี่ยงจากการถูกดิสรัปท์ (disrupt)

Speed of Solution

เมื่อเรารู้แล้วว่าเราควรเดินไปทางไหน เราไม่ควรคิดหาไอเดีย ใหม่อย่างเร่งรีบ แต่สิ่งแรกที่ควรทำคือ หาความต้องการที่แท้จริง หรือ deep insight จากลูกค้าก่อน เพราะหากเรากระโดดไปที่ไอเดียเลยก็อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่ตอบโจทย์ลูกค้าก็ได้ และทำให้เสียเวลาพัฒนาในสิ่งที่ไม่มีคุณค่าต่อทั้งบริษัทและผู้บริโภค

การที่เราโฟกัสกับการทำความเข้าใจว่าลูกค้าอยากได้อะไรนั้น ทำให้การหาโซลูชั่นที่ตอบโจทย์ลูกค้า (problem-solution fit) ยิ่งเร็วขึ้น ซึ่งในขั้นตอนนี้ เราสามารใช้ Value Proposition Canvas เป็นเครื่องมือหลักในการรวบรวมความต้องการที่แท้จริง ได้ โดยมีเทคนิคหลักที่เราคำนึงถึงเสมอ คือสิ่งที่ลูกค้าอยากได้นั้น หากเราทราบแค่คุณค่าเชิงฟังก์ชั่น (functional value) นั้นยังไม่เพียงพอที่จะตอบโจทย์อย่างยั่งยืนแน่นอน เราจึงต้องโฟกัสอยู่เสมอว่า เราต้องรู้ไปถึงคุณค่าในเชิงอารมณ์และจิตวิญญาณ หรือตัวตน (emotional & spiritual value) ที่เขาอยากได้อีกด้วย เมื่อเราทราบความต้องการที่แท้จริง แล้ว เราจึงนำข้อมูลส่วนนั้นมาตั้งต้นในการคิดโซลูชั่น

Speed of Implementation

“Lean” และ “Scalable” คือหัวใจของขั้นตอนนี้ ซึ่งการ Lean นั้นเปรียบเสมือนการทำให้ตัวเรา “เบา” ขึ้น เช่นการลดการถือครองสินทรัพย์ที่ไม่จำเป็นด้วยการนำเทคโนโลยีมาทดแทนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุนแล้ว ยังนำไปถึงความ “scalable” หรือความสามารถในการขยายตลาดและเพิ่มการเข้าถึงของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ด้วย

หลังจากที่เรารู้แล้วว่า โซลูชั่นใหม่ที่เราจะนำมาพัฒนาต่อยอดนั้นคืออะไร เราลองนำไอเดียนั้นมาคลี่ดูลงบน Business Model Canvas และถามตัวเองว่า จุดไหนที่ยังลีน (lean) ได้มากกว่านี้ หรือจุดไหนที่สามารถทำให้เราสามารถขยายและเพิ่มการเข้าถึงได้มากกว่านี้ โดยมีคำถามหลักสั้นๆ คือ

  • คุณค่าที่เราจะให้กัลกลุ่มลูกค้า ยังมีกลุ่มไหนอีกหรือไม่ที่จะได้รับประโยชน์จากคุณค่าเหล่านี้
  • คุณค่าตรงจุดไหนที่จริงๆ แล้ว เราอาจจะไม่ต้องลงทุนทำเอง แต่หาพันธมิตร มาจับมือกันไปสู่ความสำเร็จได้

นอกจากนี้ WEDO ยังมีเทคนิคการทำการเปลี่ยนแปลงสู่ดจิทัล หรือ Digitalization ที่นำมาปรับเปลี่ยนมุมมองของโมเดลทางธุรกิจเพิ่มเติม เพื่อต่อยอดความลีน (Lean) และเพิ่มศักยะภาพในการ ด้วย 3 คอนเซ็ปท์หลักคือ

  • Dematerialize –การสลายของสสาร หรือวัตถุดิบ เพื่อทำให้โซลูชั่นของเรา “เบา” ที่สุด
  • Democratize – การกระจายตัวให้ถึงกลุ่มลูกค้าให้ได้มากที่สุด
  • Monetize – การหาช่องทางการสร้างรายได้รูปแบบใหม่

ทั้ง 3 คอนเซ็ปท์หลักนี้ เราอาจจะใช้กระบวนการการ Digitization, การสร้างแพลตฟอร์ม, และการ augmentation หรือการปรับเปลี่ยนการปฏิบัติงาน หรือนำเทคโนโลยีมาทดแทนการทำงานในรูปแบบเดิม เพื่อทำให้กระบวนการของเราสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

Speed of Product-Market Fit

เมื่อจบขั้นตอน Speed of Implementation แล้วก็จะเป็นการเข้าสู่การพัฒนาตัวโซลูชั่น จากไอเดียให้เป็นของจริง โดยเราจะใช้ระบบ Lean-start up ที่เน้นการ สร้างให้เร็ว เรียนรู้ให้ไว (build fast, learn fast) หรือการทำ MVP อย่างรวดเร็วและรีบนำไปให้ลูกค้าทดลองเพื่อนำมาปรับใหม่ให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ โดยเป็นการค่อยๆ พัฒนาไปทีละเฟส และมีการตรวจสอบความต้องการ (validate) ในแต่ละเฟสด้วย

Speed of “Going Together” แกนหลักสุดท้ายของเรามาจากการที่เราตระหนักว่า “ไปด้วยกัน ไปได้ไกล”

การที่เรามีพันธมิตรที่สร้างพลังผนึก หรือ synergy ให้กับตัวนวัตกรรม และสร้าง win-win situation สำหรับธุรกิจของทั้งสองฝ่ายได้ด้วย คือ อีกหนึ่งแรงสำคัญใน speed up innovation ของเรา

ด้วย 5 แกนนี้ ทีม WEDO ก็อยากจะชวนบริษัทที่สนใจมาร่วมมือไปด้วยกัน ภายใต้ตีมหลักของ WEDO ปีนี้ – “To Get There, Together”

Contact